วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

แพง

กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ช่วงชั้นที่ 1 ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 2
สาระที่ 1 สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
มาตรฐาน ว1.1 เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้างและหน้าที่ของระบบต่างๆของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในดำรงชีวิตของตนและดูแลสิ่งมีชีวิต
มาตรฐานช่วงชั้นที่ 1(ป1-3)
สาระการเรียนรู้
ผลการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปี
ผลการเรียนรู้
สาระการเรียนรู้
1.สังเกต สำรวจ ตรวจสอบ เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งไม่มีชีวิต โครงสร้างและหน้าที่ของโครงสร้างต่างๆของพืชและสัตว์ในท้องถิ่นเหมาะต่อการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
1. การสำรวจ การสังเกตโครงสร้างของพืชและสัตว์ในท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน
1.เปรียบเทียบลักษณะภายนอกของพืชและสัตว์
2. ตัวอย่างสัตว์และพืชในท้องถิ่น
1. การสำรวจ การสังเกตโครงสร้างของพืชและสัตว์ในท้องถิ่นที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน
2. สังเกต สำรวจ ตรวจสอบและอธิบายปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต การตอบสนองต่อสิ่งเร้าของพืชและสัตว์ รวมทั้งนำความรู้ไปศึกษาเพิ่มเติมและนำไปใช้ประโยชน์
1. การสำรวจ ตรวจสอบปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ แสง และอุณหภูมิ
1. รู้จักจำแนกสิ่งมีชีวิตในท้องถิ่น โดยดูจากลักษณะภายนอก
1. การสำรวจ ตรวจสอบปัจจัยบางประการที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชและสัตว์ แสง และอุณหภูมิ

3.สำรวจอภิปราย และอธิบายปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์
1. สำรวจ ตรวจสอบเกี่ยวกับพืชที่เจริญเติบโตในสิ่งแวดต่างกันจะมีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตแตกต่างกัน
สำรวจอภิปราย และอธิบายปัจจัยที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและการเจริญเติบโตและการตอบสนองต่อสิ่งเร้าของมนุษย์
1. สำรวจ ตรวจสอบเกี่ยวกับพืชที่เจริญเติบโตในสิ่งแวดต่างกันจะมีโครงสร้างที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตแตกต่างกัน
4.สังเกต ตั้งคำถามอภิปรายและอธิบายหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ การทำงานที่สัมพันธ์กันของอวัยวะต่างๆและนำความรู้ไปในการดูแลสุขภาพ
1. การยกตัวอย่างความสัมพันธ์ของอวัยวะภายนอกของมนุษย์
สังเกต ตั้งคำถามอภิปรายและอธิบายหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ การทำงานที่สัมพันธ์กันของอวัยวะต่างๆและนำความรู้ไปในการดูแลสุขภาพ
1. การยกตัวอย่างความสัมพันธ์ของอวัยวะภายนอกของมนุษย์

วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม
1. การเสริมแรง เป็นการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซ้ำอีกเมื่อได้รับคำชมหรือรับรางวัล
2. การหยุดยั้ง เป็นการงดให้รางวัล งดให้ความสนใจต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
3. การแก้ไขความผิด เป็นการแก้ไขผลการกระทำของเด็ก และการแก้ไขในปริมาณที่มากกว่าเดิม
4. การงดร่วมกิจกรรม เป็นฯการงดให้รางวัลในช่วงเวลาจำกัด และไม่ควรงดนานเกินไป
5. การทำสัญญากับเด็ก เป็นการเซ็นสัญญาระหว่างครูกับนักเรียนในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ระยะเวลาการทำสัญญาไม่ควรนานเกินกว่าที่เด็กจะทำได้ มีการตรวจสอบตลอดเวลา เมื่อผิดสัญญาควรมีการลงโทษ หากมีการปฏิบัติครบถ้วนควรให้รางวัลแก่เด็ก
6. การลงโทษ เป็นขบวนการมนการขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก และไม่ให้เดกแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อีก
7. การหล่อหลอมทางพฤติกรรม เป็นการเลือกให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรที่พึงประสงค์เท่านั้น
8. การเป็นแบบอย่างที่ดี ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กอาจยึดครูเป็นแบบอย่างที่ดีในหลาย ๆ ด้าน หากครูไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ อาจให้นักเรียนที่ดีเป็นแบบอย่างทนก็ได้
ข้อมูลจาก การปรับพฤติกรรม
www.google.com

การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) เป็นสิ่งที่พูดกันมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่องค์กรที่ประสบกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆที่สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมและการกระทำของคนหรือกลุ่มคนในองค์กร ความต้องการในการปรับพฤติกรรมเหล่านี้ มักจะมุ่งตรงไปยังพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยการปรับพฤติกรรมนั้นมีการตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานนั้นๆสามารถหายไปได้ หรือจะเป็นการดียิ่งถ้าจะสามารถปลูกฝัง หรือสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ขององค์กรให้กับบุคคลนั้นๆให้ได้
ทฤษฏีการปรับพฤติกรรมนั้นมีอยู่อย่างมากมายและหลากหลาย เช่น ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสลิก (Classical Conditioning) แบบการกระทำ (Operant Conditioning) เช่น ประสงค์เป็นคนที่ชอบทิ้งเศษขยะลงกับพื้นไม่เคยสนใจในการทิ้งเศษขยะเหล่านั้นให้ลงในถังขยะหรือบริเวณที่ควรทิ้ง ต่อมาประสงค์ไปเที่ยวยังประเทศสิงค์โปรที่มีกฎเข้มงวดมากเรื่องของการทิ้งขยะทำให้ประสงค์ไม่กล้าทิ้งขยะลงพื้นเหมือนอย่างที่เคยทำในเมืองไทย ตลอดระยะเวลา 4 วันที่เที่ยวอยู่ในสิงค์โปรประสงค์จึงไม่ได้ทิ้งขยะลงพื้นเลยแม้แต่ซักชิ้นเดียว พฤติกรรมการทิ้งขยะของประสงค์ดังกล่าวที่เปลี่ยนไป เกิดขึ้นได้เพราะว่ามีการวางเงื่อนไขเอาไว้ จึงทำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมเกิดขึ้น
ทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory) เป็นทฤษฏีที่เน้นการเรียนรู้ที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากภายใน แต่ในท้ายที่สุดก็จะส่งผลมายังพฤติกรรมให้เห็น เช่น ชานนท์ที่เป็นคนชอบทิ้งขยะลงพื้นเหมือนกับประสงค์ แต่ในทุกๆวันที่นั่งรถไปทำงาน ชานนท์จะนั่งรถผ่านป้าคนกวาดขยะ ที่มักจะกวาดขยะมากองรวมกันเอาไว้เป็นกองใหญ่ ชานนท์ได้มองป้ากำลังกวาดขยะมากองรวมกันเป็นเวลานาน จนในวันหนึ่งชานนท์ก็รู้สึกไม่ดีในการที่จะต้องทิ้งเศษขยะลงพื้น และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ชานนท์ก็เลยเลิกนิสัยทิ้งเศษขยะลงพื้น หันมาทิ้งขยะลงในถังขยะที่จัดวางเอาไว้แทน
พฤติกรรมของชานนท์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ต่างไปจากประสงค์ แต่สิ่งที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่มีที่มาที่แตกต่างกันไป ประสงค์เปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองโดยมีกฎระเบียบเป็นตัวกำหนด ประสงค์รู้ว่าถ้าทิ้งขยะลงพื้นตัวของเขาเองจะโดนปรับ ในขณะที่ชานนท์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปด้วยจิตสำนึกที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง หลังจากที่ได้มองดูป้ากวาดขยะมาเป็นเวลานาน และผลของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดต่อไปได้ก็คือ การเลิกทิ้งขยะของชานนท์จะต้องคงอยู่ไปอีกนาน จนอาจกลายเป็นนิสัยไปในที่สุด แต่ประสงค์คงจะมีพฤติกรรมการทิ้งขยะลงพื้นเหมือนเดิมทันทีที่กลับมายังเมืองไทย จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นทั้งชานนท์และประสงค์ แต่ทว่าสาเหตุของการก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางทฤษฏีก็มุ่งหวังให้เกิดการปรับพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว มุ่งหวังให้พฤติกรรมหายไปโดยทันที บางทฤษฏีก็มุ่งหวังที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถาวร ใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนที่ยาวนาน พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในองค์กรนั้น หลายต่อหลายอย่างจะถูกมองว่าเกิดขึ้นมาจากการที่บุคลากรในองค์กรขาดซึ่งความรู้ในเรื่องนั้นๆ ตัวอย่างเช่นการบริการลูกค้า เป็นที่ยอมรับกันว่าความรู้ในเรื่องการบริการลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของงานบริการ ดังนั้นการส่งพนักงานไปอบรมเรียนรู้เรื่องเทคนิคการบริการต่อลูกค้า จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรให้เป็นไปตามที่องค์กรหรือหน่วยงานมีความต้องการ แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่า การอบรมไม่ได้ช่วยให้พนักงานต้อนรับมีรอยยิ้มมากขึ้น อารมณ์เย็นต่อลูกค้ามากขึ้น หรือพูดจาอ่อนหวาน มีน้ำเสียงและหางเสียงที่ไพเราะขึ้นแต่ประการใด หลายๆคนที่ผ่านการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว ก็ยังคงมีพฤติกรรมเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถึงกระนั้น ความพยายามที่จะปรับพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กร โดยการเพิ่มพูนความรู้ก็ยังเป็นสิ่งที่นิยมทำกัน กระบวนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรจึงเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่น่าจะนำมาขบคิดว่า อะไรที่ทำให้บุคคลไม่เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม อะไรทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล และท้ายที่สุดคือเรารู้และเข้าในเรื่องของการปรับพฤติกรรมดีมากน้อยเพียงใด
ในบทบาทของครูบาอาจารย์ การเรียกเด็กมาตำหนิ หรือการลงโทษด้วยวิธีการต่างๆ จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริงหรือไม่ การลงโทษหรือการว่ากล่าวด้วยวิธีการที่ฉาบฉวยไม่ฟังความให้รอบด้าน ไม่พิจารณาถึงต้นตอหรือสาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อย่างรอบครอบ ไม่มีความละเอียด รีบด่วนหาข้อสรุป จึงเป็นข้อบกพร่องที่จะทำให้การปรับพฤติกรรมไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นการดำเนินการใดๆที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะกับเด็กๆหรือเยาวชน จึงต้องถูกดำเนินการด้วยความสนใจ ใช้เวลาและต้องดูแลเอาใจใส่อย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นคำพูด การลงโทษ หรือแม้แต่กระทั่งกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาก็จะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง
ข้อมูลจาก อินไซด์ มจธ
www.google.com

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

จังหวัดกาฬสินธุ์

จังหวัดกาฬสินธุ์ Kalasin Province


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
Symbols

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพยอม (Shorea roxburghii)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: แสมสาร (Cassia garrettiana)
คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมภูไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
The seal of the province shows a pond in front of the mountains which form the boundary of the province. The water in the pond is black, as the name Kalasin means "black water". The big clouds as well as the water symbolize the fertility of the province.
The provincial flower is Payorm or Sweet shorea (Shorea roxburghii), and the provincial tree is Sa-mae-san (Cassia garrettiana).

หน่วยการปกครอง Administrative divisions
การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ 134 ตำบล 1509 หมู่บ้าน
The province is subdivided into 14 districts (
Amphoe) and 4 minor districts (King Amphoe). The districts are further subdivided into 134 communes (tambon) and 1509 villages (muban).
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ Mueang Kalasin
อำเภอนามน Na Mon
อำเภอกมลาไสยKamalasai
อำเภอร่องคำ Rong Kham
อำเภอกุฉินารายณ์ Kuchinarai
อำเภอเขาวง Khao Wong
อำเภอยางตลาด Yang Talat
อำเภอห้วยเม็ก Huai Mek
อำเภอสหัสขันธ์ Sahatsakhan
อำเภอคำม่วง Kham Muang
อำเภอท่าคันโท Tha Khantho
อำเภอหนองกุงศรี Nong Kung Si
อำเภอสมเด็จ Somdet
อำเภอห้วยผึ้ง Huai Phueng
กิ่งอำเภอสามชัย Sam Chai
กิ่งอำเภอนาคู Na Khu
กิ่งอำเภอดอนจาน Don Chan
กิ่งอำเภอฆ้องชัย Khong chai

สถานที่ท่องเที่ยว





ไดโนเสาร์จำลอง
ไดโนเสาร์จำลอง จัดสร้างขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลกุดหว้า สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ จ.กาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ริมถนน สายกุฉินารายณ์ – มุกดาหาร เหมาะที่จะเป็นที่พักริมทางของผู้ที่สัญจรไปมาตำบลตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์



พระธาตุพนมจำลอง
เป็นพระธาตุที่จำลองมาจากพระธาตุพนมที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระธาตุที่ประชาชนทั่วไปนับถือ พร้อมทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของตำบลห้วยเม็ก ตำบลตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์





ถ้ำฝ่ามือแดงเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ที่สวยงามตั้งอยู่บนเทือกเขาภูสีฐาน ภายในจะมีรูปฝ่ามือสวยงาม เหมาะสำหรับทัศนศึกษา และพักผ่อนหย่อนใจ ตำบลตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ภูผาผึ้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงาม อยู่บนเทือกเขา มีลานหินที่สวยงาม สะพานหินและถ้ำลอด เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ตำบลตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์





เด็กพิการซ้อน


เด็กพิการซ้อน
เด็กพิการซ้อน หมายถึง เด็กที่มีความพิการมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไปในคน ๆ เดียวกัน เช่น เด็กที่ทั้งตาบอดและหูหนวก เด็กที่ทั ้งตาบอด หูหนวก และปัญญาอ่อน เป็นต้น
การสอนเด็กประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้วิธีการพิเศษเฉพาะหลาย ๆ วิธี ซึ่งการสอนเด็กเหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของครูการศึกษาพิเศษที่ได้รับการฝึกมาโดยเฉพาะ

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์


บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีอารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่น เป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อม หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเองขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้อื่น ความเก็บกดทางอารมณ์จะแสดงออกทางร่างกาย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มความประพฤติผิดปกติ มีลักษณะก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น ต่อต้าน เสียงดัง พูดหยาบคาย
กลุ่มบุคคลผิดปกติ ชอบเก็บตัว ขาดความมั่นใจ กัดเล็บ เงียบเฉย ไม่พูด มองโลกในแง่ร้าย
กลุ่มขาดวุฒิภาวะ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัย สมาธิ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว งุ่มง่าม เฉื่อยชา สกปรก ขาดความรับผิดชอบ
กลุ่มที่มีปัญหาทางสังคม ชอบหนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน คบเพื่อนไม่ดี ต่อต้านผู้มีอำนาจ ชอบเที่ยวกลางคืน
เกณฑ์การตัดสิน
*เป็นเด็กที่แสดงพฤติกรรมทางอารมณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะได้รับบริการแนะแนวและบริการให้คำปรึกษาแล้วก็ตามก็ยังมีปัญหาทางอารมณ์อยู่ในลักษณะเดิม
*การประเมินผลทางจิตวิทยาและการสังเกตอย่างมีระบบ ระบุว่าเด็กมีปัญหาในทางพฤติกรรมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
*มีพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนของตน การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ พัฒนาการทาสังคม พัฒนาการทางภาษาและการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
*มีหลักฐานอื่นยืนยันว่าปัญหาของนักเรียนมิได้เกิดจากความบกพร่องทางร่างกาย การรับรู้และสติปัญญา
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม
*ก้าวร้าว ก่อกวน
*การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
*การปรับตัวทางสังคม เช่น แก๊งอันธพาล การหนีโรงเรียน
*การทำลายสาธารณสมบัติ
การลักขโมย การประทุษร้ายทางเพศ
เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
*กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนกิจวัตรประจำวันในห้องเรียนให้เป็นระบบให้ชัดเจน ซึ่งควรมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำงาน
*ครูกำหนดกฎ ระเบียบของห้องเรียน ควรกระทำตอนต้นภาคเรียนและชี้แจงให้นักเรียนทุกคนเข้าใจตรงกันและปฏิบัติตาม
*ถ้ามีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจกฎ ระเบียบ ให้ครูเลือกเด็กคนใดคนหนึ่งเป็นแบบอย่างให้นักเรียนที่ไม่เข้าใจปฏิบัติตามแบบอย่างจนกว่าเด็กจะเข้าใจ
*ครูคอยตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือไม่และให้แรงเสริมทางบวก เมื่อนักเรียนปฏิบัติตามกฎ
*หากนักเรียนทำแบบฝึกหัดหรือทำการบ้านไม่ได้ ครูอาจเลือกใช้วิธีอื่น
*ถ้านักเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือใช้คำพูดไม่เหมาะสมกับครูหรือเพื่อน ครูควรวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็กก่อนแล้วจึงพิจารณาดำเนินการต่อไป
*ถ้านักเรียนทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกัน ครูจะต้องจับเด็กแยกออกจากกันทันที หลังจากนั้นครูอาจให้นักเรียนศึกษาแบบอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องจากเด็กอื่นๆแล้วให้ปฏิบัติตามแบบอย่างนั้นๆ
*ถ้าเด็กปรับตัวในทางถดถอย ชอบอยู่คนเดียว ไม่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ครูอาจสั่งให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมหรือส่งเด็กไปให้ครูแนะแนวหรืออาจให้เพื่อนนักเรียนในห้องเดียวกันเขียนส่วนดีของเด็กคนนั้นลงในกระดาษ แล้วให้นักเรียนอ่านข้อความนั้นให้นักเรียนทั้งห้องฟังเพื่อให้เด็กรู้สึกชื่นชมตนเองและมีแรงในภายในที่จะพัฒนาตนเองต่อไป
*ครูควรนำวิธีปรับพฤติกรรมมาใช้อย่างเป็นระบบ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องในการออกเสียงพูด เนื่องจากอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงพูดบกพร่องหรือผิดปกติ เช่น ปากแหว่งและเพดานโหว่การหายใจไม่ปกติ รวมทั้งเด็กที่พูดไม่ชัด และติดอ่าง
เด็กที่มีความบกพร่องทางภาษา หมายถึง เด็กที่มีปัญหาในการเข้าใจภาษาและการแสดงออกทางภาษา เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน และสัญ ลักษณ์อื่นๆ
การสอนเด็กเหล่านี้ ครูทำหน้าที่สอนตามปกติ และควรทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนักแก้ไขการพูด คือ ช่วยตรวจประเมินความบกพร่องทางการพูดของเด็กช่วยแก้ไขความบกพร่องเบื้องต้น และช่วยป้องกันความบกพร่อง เช่น ครูฟังการพูดของเด็กในโอกาสต่าง ๆ กัน แล้วบอกว่าเด็กมีปัญหาอะไร ครูช่วยเป็นแม่แบบการพูดและการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และสนับสนุนให้เด็กใช้ทักษะการติดต่อสารที่เหมาะสมตามโอกาสต่าง ๆ โดยครูใช้กิจกรรมที่สนับสนุน การให้รางวัล และการเป็นผู้ฟังที่ดีเพื่อส่งเสริมการฟังและการพูดของเด็ก

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง ผู้ที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใด ส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลำบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน และทำกิจกรรมของเด็ก จำแนกได้ดังนี้
1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
1.1 ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจน ฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
1.1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
1.1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
1.1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
1.1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
1.1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย
1.3 โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
1.3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
1.3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
1.3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว
1.5 แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก
1.6 โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง
2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
2.1 โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
2.1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
2.1.2 การชักในช่วยเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
2.1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
2.1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
2.2 โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
2.3 โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน
2.4 โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
2.5 โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ
2.6 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด
2.7 โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระตูก และไต
2.8 บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)