วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม
1. การเสริมแรง เป็นการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซ้ำอีกเมื่อได้รับคำชมหรือรับรางวัล
2. การหยุดยั้ง เป็นการงดให้รางวัล งดให้ความสนใจต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
3. การแก้ไขความผิด เป็นการแก้ไขผลการกระทำของเด็ก และการแก้ไขในปริมาณที่มากกว่าเดิม
4. การงดร่วมกิจกรรม เป็นฯการงดให้รางวัลในช่วงเวลาจำกัด และไม่ควรงดนานเกินไป
5. การทำสัญญากับเด็ก เป็นการเซ็นสัญญาระหว่างครูกับนักเรียนในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ระยะเวลาการทำสัญญาไม่ควรนานเกินกว่าที่เด็กจะทำได้ มีการตรวจสอบตลอดเวลา เมื่อผิดสัญญาควรมีการลงโทษ หากมีการปฏิบัติครบถ้วนควรให้รางวัลแก่เด็ก
6. การลงโทษ เป็นขบวนการมนการขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก และไม่ให้เดกแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อีก
7. การหล่อหลอมทางพฤติกรรม เป็นการเลือกให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรที่พึงประสงค์เท่านั้น
8. การเป็นแบบอย่างที่ดี ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กอาจยึดครูเป็นแบบอย่างที่ดีในหลาย ๆ ด้าน หากครูไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ อาจให้นักเรียนที่ดีเป็นแบบอย่างทนก็ได้
ข้อมูลจาก การปรับพฤติกรรม
www.google.com

การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) เป็นสิ่งที่พูดกันมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่องค์กรที่ประสบกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆที่สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมและการกระทำของคนหรือกลุ่มคนในองค์กร ความต้องการในการปรับพฤติกรรมเหล่านี้ มักจะมุ่งตรงไปยังพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยการปรับพฤติกรรมนั้นมีการตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานนั้นๆสามารถหายไปได้ หรือจะเป็นการดียิ่งถ้าจะสามารถปลูกฝัง หรือสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ขององค์กรให้กับบุคคลนั้นๆให้ได้
ทฤษฏีการปรับพฤติกรรมนั้นมีอยู่อย่างมากมายและหลากหลาย เช่น ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสลิก (Classical Conditioning) แบบการกระทำ (Operant Conditioning) เช่น ประสงค์เป็นคนที่ชอบทิ้งเศษขยะลงกับพื้นไม่เคยสนใจในการทิ้งเศษขยะเหล่านั้นให้ลงในถังขยะหรือบริเวณที่ควรทิ้ง ต่อมาประสงค์ไปเที่ยวยังประเทศสิงค์โปรที่มีกฎเข้มงวดมากเรื่องของการทิ้งขยะทำให้ประสงค์ไม่กล้าทิ้งขยะลงพื้นเหมือนอย่างที่เคยทำในเมืองไทย ตลอดระยะเวลา 4 วันที่เที่ยวอยู่ในสิงค์โปรประสงค์จึงไม่ได้ทิ้งขยะลงพื้นเลยแม้แต่ซักชิ้นเดียว พฤติกรรมการทิ้งขยะของประสงค์ดังกล่าวที่เปลี่ยนไป เกิดขึ้นได้เพราะว่ามีการวางเงื่อนไขเอาไว้ จึงทำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมเกิดขึ้น
ทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory) เป็นทฤษฏีที่เน้นการเรียนรู้ที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากภายใน แต่ในท้ายที่สุดก็จะส่งผลมายังพฤติกรรมให้เห็น เช่น ชานนท์ที่เป็นคนชอบทิ้งขยะลงพื้นเหมือนกับประสงค์ แต่ในทุกๆวันที่นั่งรถไปทำงาน ชานนท์จะนั่งรถผ่านป้าคนกวาดขยะ ที่มักจะกวาดขยะมากองรวมกันเอาไว้เป็นกองใหญ่ ชานนท์ได้มองป้ากำลังกวาดขยะมากองรวมกันเป็นเวลานาน จนในวันหนึ่งชานนท์ก็รู้สึกไม่ดีในการที่จะต้องทิ้งเศษขยะลงพื้น และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ชานนท์ก็เลยเลิกนิสัยทิ้งเศษขยะลงพื้น หันมาทิ้งขยะลงในถังขยะที่จัดวางเอาไว้แทน
พฤติกรรมของชานนท์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ต่างไปจากประสงค์ แต่สิ่งที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่มีที่มาที่แตกต่างกันไป ประสงค์เปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองโดยมีกฎระเบียบเป็นตัวกำหนด ประสงค์รู้ว่าถ้าทิ้งขยะลงพื้นตัวของเขาเองจะโดนปรับ ในขณะที่ชานนท์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปด้วยจิตสำนึกที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง หลังจากที่ได้มองดูป้ากวาดขยะมาเป็นเวลานาน และผลของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดต่อไปได้ก็คือ การเลิกทิ้งขยะของชานนท์จะต้องคงอยู่ไปอีกนาน จนอาจกลายเป็นนิสัยไปในที่สุด แต่ประสงค์คงจะมีพฤติกรรมการทิ้งขยะลงพื้นเหมือนเดิมทันทีที่กลับมายังเมืองไทย จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นทั้งชานนท์และประสงค์ แต่ทว่าสาเหตุของการก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางทฤษฏีก็มุ่งหวังให้เกิดการปรับพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว มุ่งหวังให้พฤติกรรมหายไปโดยทันที บางทฤษฏีก็มุ่งหวังที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถาวร ใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนที่ยาวนาน พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในองค์กรนั้น หลายต่อหลายอย่างจะถูกมองว่าเกิดขึ้นมาจากการที่บุคลากรในองค์กรขาดซึ่งความรู้ในเรื่องนั้นๆ ตัวอย่างเช่นการบริการลูกค้า เป็นที่ยอมรับกันว่าความรู้ในเรื่องการบริการลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของงานบริการ ดังนั้นการส่งพนักงานไปอบรมเรียนรู้เรื่องเทคนิคการบริการต่อลูกค้า จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรให้เป็นไปตามที่องค์กรหรือหน่วยงานมีความต้องการ แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่า การอบรมไม่ได้ช่วยให้พนักงานต้อนรับมีรอยยิ้มมากขึ้น อารมณ์เย็นต่อลูกค้ามากขึ้น หรือพูดจาอ่อนหวาน มีน้ำเสียงและหางเสียงที่ไพเราะขึ้นแต่ประการใด หลายๆคนที่ผ่านการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว ก็ยังคงมีพฤติกรรมเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถึงกระนั้น ความพยายามที่จะปรับพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กร โดยการเพิ่มพูนความรู้ก็ยังเป็นสิ่งที่นิยมทำกัน กระบวนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรจึงเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่น่าจะนำมาขบคิดว่า อะไรที่ทำให้บุคคลไม่เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม อะไรทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล และท้ายที่สุดคือเรารู้และเข้าในเรื่องของการปรับพฤติกรรมดีมากน้อยเพียงใด
ในบทบาทของครูบาอาจารย์ การเรียกเด็กมาตำหนิ หรือการลงโทษด้วยวิธีการต่างๆ จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริงหรือไม่ การลงโทษหรือการว่ากล่าวด้วยวิธีการที่ฉาบฉวยไม่ฟังความให้รอบด้าน ไม่พิจารณาถึงต้นตอหรือสาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อย่างรอบครอบ ไม่มีความละเอียด รีบด่วนหาข้อสรุป จึงเป็นข้อบกพร่องที่จะทำให้การปรับพฤติกรรมไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นการดำเนินการใดๆที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะกับเด็กๆหรือเยาวชน จึงต้องถูกดำเนินการด้วยความสนใจ ใช้เวลาและต้องดูแลเอาใจใส่อย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นคำพูด การลงโทษ หรือแม้แต่กระทั่งกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาก็จะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง
ข้อมูลจาก อินไซด์ มจธ
www.google.com

ไม่มีความคิดเห็น: