วันพฤหัสบดีที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550

การปรับพฤติกรรม

การปรับพฤติกรรม
1. การเสริมแรง เป็นการส่งเสริมพฤติกรรมที่พึงประสงค์ ซ้ำอีกเมื่อได้รับคำชมหรือรับรางวัล
2. การหยุดยั้ง เป็นการงดให้รางวัล งดให้ความสนใจต่อพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์
3. การแก้ไขความผิด เป็นการแก้ไขผลการกระทำของเด็ก และการแก้ไขในปริมาณที่มากกว่าเดิม
4. การงดร่วมกิจกรรม เป็นฯการงดให้รางวัลในช่วงเวลาจำกัด และไม่ควรงดนานเกินไป
5. การทำสัญญากับเด็ก เป็นการเซ็นสัญญาระหว่างครูกับนักเรียนในลักษณะที่เป็นลายลักษณ์อักษร ระยะเวลาการทำสัญญาไม่ควรนานเกินกว่าที่เด็กจะทำได้ มีการตรวจสอบตลอดเวลา เมื่อผิดสัญญาควรมีการลงโทษ หากมีการปฏิบัติครบถ้วนควรให้รางวัลแก่เด็ก
6. การลงโทษ เป็นขบวนการมนการขจัดพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของเด็ก และไม่ให้เดกแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อีก
7. การหล่อหลอมทางพฤติกรรม เป็นการเลือกให้แรงเสริมเฉพาะพฤติกรรที่พึงประสงค์เท่านั้น
8. การเป็นแบบอย่างที่ดี ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่เด็กอาจยึดครูเป็นแบบอย่างที่ดีในหลาย ๆ ด้าน หากครูไม่สามารถเป็นแบบอย่างที่ดีได้ อาจให้นักเรียนที่ดีเป็นแบบอย่างทนก็ได้
ข้อมูลจาก การปรับพฤติกรรม
www.google.com

การปรับพฤติกรรม (Behavior Modification) เป็นสิ่งที่พูดกันมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เวลาที่องค์กรที่ประสบกับปัญหาหรืออุปสรรคใดๆที่สืบเนื่องมาจากพฤติกรรมและการกระทำของคนหรือกลุ่มคนในองค์กร ความต้องการในการปรับพฤติกรรมเหล่านี้ มักจะมุ่งตรงไปยังพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ โดยการปรับพฤติกรรมนั้นมีการตั้งเป้าหมายเอาไว้ว่า ทำอย่างไรจึงจะให้พฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการทำงานนั้นๆสามารถหายไปได้ หรือจะเป็นการดียิ่งถ้าจะสามารถปลูกฝัง หรือสร้างพฤติกรรมที่พึงประสงค์ขององค์กรให้กับบุคคลนั้นๆให้ได้
ทฤษฏีการปรับพฤติกรรมนั้นมีอยู่อย่างมากมายและหลากหลาย เช่น ทฤษฏีการวางเงื่อนไขแบบคลาสลิก (Classical Conditioning) แบบการกระทำ (Operant Conditioning) เช่น ประสงค์เป็นคนที่ชอบทิ้งเศษขยะลงกับพื้นไม่เคยสนใจในการทิ้งเศษขยะเหล่านั้นให้ลงในถังขยะหรือบริเวณที่ควรทิ้ง ต่อมาประสงค์ไปเที่ยวยังประเทศสิงค์โปรที่มีกฎเข้มงวดมากเรื่องของการทิ้งขยะทำให้ประสงค์ไม่กล้าทิ้งขยะลงพื้นเหมือนอย่างที่เคยทำในเมืองไทย ตลอดระยะเวลา 4 วันที่เที่ยวอยู่ในสิงค์โปรประสงค์จึงไม่ได้ทิ้งขยะลงพื้นเลยแม้แต่ซักชิ้นเดียว พฤติกรรมการทิ้งขยะของประสงค์ดังกล่าวที่เปลี่ยนไป เกิดขึ้นได้เพราะว่ามีการวางเงื่อนไขเอาไว้ จึงทำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมเกิดขึ้น
ทฤษฏีการเรียนรู้ทางปัญญาสังคม (Social Cognitive Theory) เป็นทฤษฏีที่เน้นการเรียนรู้ที่ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากภายใน แต่ในท้ายที่สุดก็จะส่งผลมายังพฤติกรรมให้เห็น เช่น ชานนท์ที่เป็นคนชอบทิ้งขยะลงพื้นเหมือนกับประสงค์ แต่ในทุกๆวันที่นั่งรถไปทำงาน ชานนท์จะนั่งรถผ่านป้าคนกวาดขยะ ที่มักจะกวาดขยะมากองรวมกันเอาไว้เป็นกองใหญ่ ชานนท์ได้มองป้ากำลังกวาดขยะมากองรวมกันเป็นเวลานาน จนในวันหนึ่งชานนท์ก็รู้สึกไม่ดีในการที่จะต้องทิ้งเศษขยะลงพื้น และหลังจากนั้นเป็นต้นมา ชานนท์ก็เลยเลิกนิสัยทิ้งเศษขยะลงพื้น หันมาทิ้งขยะลงในถังขยะที่จัดวางเอาไว้แทน
พฤติกรรมของชานนท์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปไม่ต่างไปจากประสงค์ แต่สิ่งที่มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดก็คือ สาเหตุของการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมที่มีที่มาที่แตกต่างกันไป ประสงค์เปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองโดยมีกฎระเบียบเป็นตัวกำหนด ประสงค์รู้ว่าถ้าทิ้งขยะลงพื้นตัวของเขาเองจะโดนปรับ ในขณะที่ชานนท์เปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปด้วยจิตสำนึกที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง หลังจากที่ได้มองดูป้ากวาดขยะมาเป็นเวลานาน และผลของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่คาดต่อไปได้ก็คือ การเลิกทิ้งขยะของชานนท์จะต้องคงอยู่ไปอีกนาน จนอาจกลายเป็นนิสัยไปในที่สุด แต่ประสงค์คงจะมีพฤติกรรมการทิ้งขยะลงพื้นเหมือนเดิมทันทีที่กลับมายังเมืองไทย จากตัวอย่างดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเกิดขึ้นทั้งชานนท์และประสงค์ แต่ทว่าสาเหตุของการก่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนั้นไม่เหมือนกัน ทั้งนี้ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางทฤษฏีก็มุ่งหวังให้เกิดการปรับพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว มุ่งหวังให้พฤติกรรมหายไปโดยทันที บางทฤษฏีก็มุ่งหวังที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างถาวร ใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนที่ยาวนาน พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ในองค์กรนั้น หลายต่อหลายอย่างจะถูกมองว่าเกิดขึ้นมาจากการที่บุคลากรในองค์กรขาดซึ่งความรู้ในเรื่องนั้นๆ ตัวอย่างเช่นการบริการลูกค้า เป็นที่ยอมรับกันว่าความรู้ในเรื่องการบริการลูกค้าเป็นหัวใจสำคัญประการหนึ่งของงานบริการ ดังนั้นการส่งพนักงานไปอบรมเรียนรู้เรื่องเทคนิคการบริการต่อลูกค้า จึงเป็นสิ่งที่จะช่วยให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรให้เป็นไปตามที่องค์กรหรือหน่วยงานมีความต้องการ แต่ข้อเท็จจริงก็คือว่า การอบรมไม่ได้ช่วยให้พนักงานต้อนรับมีรอยยิ้มมากขึ้น อารมณ์เย็นต่อลูกค้ามากขึ้น หรือพูดจาอ่อนหวาน มีน้ำเสียงและหางเสียงที่ไพเราะขึ้นแต่ประการใด หลายๆคนที่ผ่านการฝึกอบรมในเรื่องดังกล่าวมาแล้ว ก็ยังคงมีพฤติกรรมเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถึงกระนั้น ความพยายามที่จะปรับพฤติกรรมของบุคลากรในองค์กร โดยการเพิ่มพูนความรู้ก็ยังเป็นสิ่งที่นิยมทำกัน กระบวนการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรจึงเป็นเครื่องมือที่ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลาย ตัวอย่างดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่น่าจะนำมาขบคิดว่า อะไรที่ทำให้บุคคลไม่เกิดการเปลี่ยนพฤติกรรม อะไรทำให้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ผล และท้ายที่สุดคือเรารู้และเข้าในเรื่องของการปรับพฤติกรรมดีมากน้อยเพียงใด
ในบทบาทของครูบาอาจารย์ การเรียกเด็กมาตำหนิ หรือการลงโทษด้วยวิธีการต่างๆ จะทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริงหรือไม่ การลงโทษหรือการว่ากล่าวด้วยวิธีการที่ฉาบฉวยไม่ฟังความให้รอบด้าน ไม่พิจารณาถึงต้นตอหรือสาเหตุของพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์อย่างรอบครอบ ไม่มีความละเอียด รีบด่วนหาข้อสรุป จึงเป็นข้อบกพร่องที่จะทำให้การปรับพฤติกรรมไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ดังนั้นการดำเนินการใดๆที่เป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยเฉพาะกับเด็กๆหรือเยาวชน จึงต้องถูกดำเนินการด้วยความสนใจ ใช้เวลาและต้องดูแลเอาใจใส่อย่างแท้จริง ไม่เช่นนั้นคำพูด การลงโทษ หรือแม้แต่กระทั่งกฎเกณฑ์ที่ตั้งขึ้นมาก็จะไร้ความหมายโดยสิ้นเชิง
ข้อมูลจาก อินไซด์ มจธ
www.google.com

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550

จังหวัดกาฬสินธุ์

จังหวัดกาฬสินธุ์ Kalasin Province


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด
Symbols

ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพยอม (Shorea roxburghii)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: แสมสาร (Cassia garrettiana)
คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมภูไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี
The seal of the province shows a pond in front of the mountains which form the boundary of the province. The water in the pond is black, as the name Kalasin means "black water". The big clouds as well as the water symbolize the fertility of the province.
The provincial flower is Payorm or Sweet shorea (Shorea roxburghii), and the provincial tree is Sa-mae-san (Cassia garrettiana).

หน่วยการปกครอง Administrative divisions
การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ 134 ตำบล 1509 หมู่บ้าน
The province is subdivided into 14 districts (
Amphoe) and 4 minor districts (King Amphoe). The districts are further subdivided into 134 communes (tambon) and 1509 villages (muban).
อำเภอเมืองกาฬสินธุ์ Mueang Kalasin
อำเภอนามน Na Mon
อำเภอกมลาไสยKamalasai
อำเภอร่องคำ Rong Kham
อำเภอกุฉินารายณ์ Kuchinarai
อำเภอเขาวง Khao Wong
อำเภอยางตลาด Yang Talat
อำเภอห้วยเม็ก Huai Mek
อำเภอสหัสขันธ์ Sahatsakhan
อำเภอคำม่วง Kham Muang
อำเภอท่าคันโท Tha Khantho
อำเภอหนองกุงศรี Nong Kung Si
อำเภอสมเด็จ Somdet
อำเภอห้วยผึ้ง Huai Phueng
กิ่งอำเภอสามชัย Sam Chai
กิ่งอำเภอนาคู Na Khu
กิ่งอำเภอดอนจาน Don Chan
กิ่งอำเภอฆ้องชัย Khong chai

สถานที่ท่องเที่ยว





ไดโนเสาร์จำลอง
ไดโนเสาร์จำลอง จัดสร้างขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลกุดหว้า สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ จ.กาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ริมถนน สายกุฉินารายณ์ – มุกดาหาร เหมาะที่จะเป็นที่พักริมทางของผู้ที่สัญจรไปมาตำบลตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์



พระธาตุพนมจำลอง
เป็นพระธาตุที่จำลองมาจากพระธาตุพนมที่วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นพระธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นพระธาตุที่ประชาชนทั่วไปนับถือ พร้อมทั้งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของตำบลห้วยเม็ก ตำบลตำบลห้วยเม็ก อำเภอห้วยเม็ก จังหวัดกาฬสินธุ์





ถ้ำฝ่ามือแดงเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ที่สวยงามตั้งอยู่บนเทือกเขาภูสีฐาน ภายในจะมีรูปฝ่ามือสวยงาม เหมาะสำหรับทัศนศึกษา และพักผ่อนหย่อนใจ ตำบลตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
ภูผาผึ้ง เป็นแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่สวยงาม อยู่บนเทือกเขา มีลานหินที่สวยงาม สะพานหินและถ้ำลอด เหมาะแก่การพักผ่อนหย่อนใจ ตำบลตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์





เด็กพิการซ้อน


เด็กพิการซ้อน
เด็กพิการซ้อน หมายถึง เด็กที่มีความพิการมากกว่าหนึ่งอย่างขึ้นไปในคน ๆ เดียวกัน เช่น เด็กที่ทั้งตาบอดและหูหนวก เด็กที่ทั ้งตาบอด หูหนวก และปัญญาอ่อน เป็นต้น
การสอนเด็กประเภทนี้ จำเป็นต้องใช้วิธีการพิเศษเฉพาะหลาย ๆ วิธี ซึ่งการสอนเด็กเหล่านี้จะเป็นหน้าที่ของครูการศึกษาพิเศษที่ได้รับการฝึกมาโดยเฉพาะ

เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์


บุคคลที่มีปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์ หมายถึง บุคคลที่มีอารมณ์และพฤติกรรมเบี่ยงเบนไปจากปกติเป็นอย่างมาก และปัญหาทางพฤติกรรมนั้นเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ไม่เป็นที่ยอมรับทางสังคมส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ของเด็กและผู้อื่น เป็นผลมาจากความขัดแย้งของเด็กกับสภาพแวดล้อม หรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในตัวเด็กเองขาดสัมพันธภาพกับเพื่อนหรือผู้อื่น ความเก็บกดทางอารมณ์จะแสดงออกทางร่างกาย แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม
กลุ่มความประพฤติผิดปกติ มีลักษณะก้าวร้าว ทำร้ายผู้อื่น ต่อต้าน เสียงดัง พูดหยาบคาย
กลุ่มบุคคลผิดปกติ ชอบเก็บตัว ขาดความมั่นใจ กัดเล็บ เงียบเฉย ไม่พูด มองโลกในแง่ร้าย
กลุ่มขาดวุฒิภาวะ มีพฤติกรรมไม่เหมาะสมกับวัย สมาธิ ไม่สนใจสิ่งรอบตัว งุ่มง่าม เฉื่อยชา สกปรก ขาดความรับผิดชอบ
กลุ่มที่มีปัญหาทางสังคม ชอบหนีโรงเรียน หนีออกจากบ้าน คบเพื่อนไม่ดี ต่อต้านผู้มีอำนาจ ชอบเที่ยวกลางคืน
เกณฑ์การตัดสิน
*เป็นเด็กที่แสดงพฤติกรรมทางอารมณ์ที่เบี่ยงเบนไปจากเด็กทั่วไปในวัยเดียวกัน ถึงแม้ว่าจะได้รับบริการแนะแนวและบริการให้คำปรึกษาแล้วก็ตามก็ยังมีปัญหาทางอารมณ์อยู่ในลักษณะเดิม
*การประเมินผลทางจิตวิทยาและการสังเกตอย่างมีระบบ ระบุว่าเด็กมีปัญหาในทางพฤติกรรมมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน
*มีพฤติกรรมที่เป็นอุปสรรคต่อการเรียนของตน การอ่าน การเขียน คณิตศาสตร์ พัฒนาการทาสังคม พัฒนาการทางภาษาและการควบคุมพฤติกรรมของตนเอง
*มีหลักฐานอื่นยืนยันว่าปัญหาของนักเรียนมิได้เกิดจากความบกพร่องทางร่างกาย การรับรู้และสติปัญญา
ลักษณะของเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม
*ก้าวร้าว ก่อกวน
*การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ
*การปรับตัวทางสังคม เช่น แก๊งอันธพาล การหนีโรงเรียน
*การทำลายสาธารณสมบัติ
การลักขโมย การประทุษร้ายทางเพศ
เทคนิคการสอนเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
*กำหนดกฎเกณฑ์ ระเบียบตลอดจนกิจวัตรประจำวันในห้องเรียนให้เป็นระบบให้ชัดเจน ซึ่งควรมีความสัมพันธ์กับความสำเร็จในการทำงาน
*ครูกำหนดกฎ ระเบียบของห้องเรียน ควรกระทำตอนต้นภาคเรียนและชี้แจงให้นักเรียนทุกคนเข้าใจตรงกันและปฏิบัติตาม
*ถ้ามีนักเรียนบางคนไม่เข้าใจกฎ ระเบียบ ให้ครูเลือกเด็กคนใดคนหนึ่งเป็นแบบอย่างให้นักเรียนที่ไม่เข้าใจปฏิบัติตามแบบอย่างจนกว่าเด็กจะเข้าใจ
*ครูคอยตรวจสอบว่านักเรียนปฏิบัติตามกฎ ระเบียบหรือไม่และให้แรงเสริมทางบวก เมื่อนักเรียนปฏิบัติตามกฎ
*หากนักเรียนทำแบบฝึกหัดหรือทำการบ้านไม่ได้ ครูอาจเลือกใช้วิธีอื่น
*ถ้านักเรียนไม่ปฏิบัติตามคำสั่งหรือใช้คำพูดไม่เหมาะสมกับครูหรือเพื่อน ครูควรวิเคราะห์พฤติกรรมของเด็กก่อนแล้วจึงพิจารณาดำเนินการต่อไป
*ถ้านักเรียนทะเลาะวิวาทหรือชกต่อยกัน ครูจะต้องจับเด็กแยกออกจากกันทันที หลังจากนั้นครูอาจให้นักเรียนศึกษาแบบอย่างพฤติกรรมที่ถูกต้องจากเด็กอื่นๆแล้วให้ปฏิบัติตามแบบอย่างนั้นๆ
*ถ้าเด็กปรับตัวในทางถดถอย ชอบอยู่คนเดียว ไม่ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ครูอาจสั่งให้เด็กเข้าร่วมกิจกรรมหรือส่งเด็กไปให้ครูแนะแนวหรืออาจให้เพื่อนนักเรียนในห้องเดียวกันเขียนส่วนดีของเด็กคนนั้นลงในกระดาษ แล้วให้นักเรียนอ่านข้อความนั้นให้นักเรียนทั้งห้องฟังเพื่อให้เด็กรู้สึกชื่นชมตนเองและมีแรงในภายในที่จะพัฒนาตนเองต่อไป
*ครูควรนำวิธีปรับพฤติกรรมมาใช้อย่างเป็นระบบ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา


เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา อาจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องในการออกเสียงพูด เนื่องจากอวัยวะที่ใช้ในการออกเสียงพูดบกพร่องหรือผิดปกติ เช่น ปากแหว่งและเพดานโหว่การหายใจไม่ปกติ รวมทั้งเด็กที่พูดไม่ชัด และติดอ่าง
เด็กที่มีความบกพร่องทางภาษา หมายถึง เด็กที่มีปัญหาในการเข้าใจภาษาและการแสดงออกทางภาษา เช่น ภาษาพูด ภาษาเขียน และสัญ ลักษณ์อื่นๆ
การสอนเด็กเหล่านี้ ครูทำหน้าที่สอนตามปกติ และควรทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยนักแก้ไขการพูด คือ ช่วยตรวจประเมินความบกพร่องทางการพูดของเด็กช่วยแก้ไขความบกพร่องเบื้องต้น และช่วยป้องกันความบกพร่อง เช่น ครูฟังการพูดของเด็กในโอกาสต่าง ๆ กัน แล้วบอกว่าเด็กมีปัญหาอะไร ครูช่วยเป็นแม่แบบการพูดและการใช้ภาษาที่ถูกต้อง และสนับสนุนให้เด็กใช้ทักษะการติดต่อสารที่เหมาะสมตามโอกาสต่าง ๆ โดยครูใช้กิจกรรมที่สนับสนุน การให้รางวัล และการเป็นผู้ฟังที่ดีเพื่อส่งเสริมการฟังและการพูดของเด็ก

เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ

เด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ หมายถึง ผู้ที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใด ส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนหายไป กระดูกกล้ามเนื้อพิการ เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรงหรือเฉียบพลัน มีความพิการทางระบบประสาทสมอง มีความลำบากในการเคลื่อนไหวจนเป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียน และทำกิจกรรมของเด็ก จำแนกได้ดังนี้
1. อาการบกพร่องทางร่างกาย ที่มักพบบ่อย ได้แก่
1.1 ซีพี หรือ ซีรีรัล พัลซี (C.P. : Cerebral Passy) หมายถึง การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการหรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด อันเนื่องมาจากการขาดอากาศ ออกซิเจน ฯ เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน ที่พบส่วนใหญ่ คือ
1.1.1 อัมพาตเกร็งของแขนขา หรือครึ่งซีก (Spastic)
1.1.2 อัมพาตของลีลาการเคลื่อนไหวผิดปกติ (Athetoid) จะควบคุมการเคลื่อนไหวและบังคับไปในทิศทางที่ต้องการไม่ได้
1.1.3 อัมพาตสูญเสียการทรงตัว (Ataxia) การประสานงานของอวัยวะไม่ดี
1.1.4 อัมพาตตึงแข็ง (Rigid) การเคลื่อนไหวแข็งช้า ร่างการมีการสั่นกระตุกอย่างบังคับไม่ได้
1.1.5 อัมพาตแบบผสม (Mixed)
1.2 กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากประสาทสมองที่ควบคุมส่วนของกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้กล้ามเนื้อแขนขาจะค่อย ๆ อ่อนกำลัง เด็กจะเดินหกล้มบ่อย
1.3 โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ที่พบบ่อย ได้แก่
1.3.1 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด
1.3.2 ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง
1.3.3 กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ มีความพิการเนื่องจากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง
1.4 โปลิโอ (Poliomyelitis) เกิดจากเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งเข้าสู่ร่างกายทางปาก แล้วไปเจริญต่อมน้ำเหลืองในลำคอ ลำไส้เล็ก และเข้าสู่กระแสเลือดจนถึงระบบประสาทส่วนกลาง เมื่อเซลล์ประสาทบังคับกล้ามเนื้อถูกทำลาย แขนหรือขาจะไม่มีกำลังในการเคลื่อนไหว
1.5 แขนขาด้วนแต่กำเนิด (Limb Deficiency) รวมถึงเด็กที่เกิดมาด้วยลักษณะของอวัยวะที่มีความเจริญเติบโตผิดปกติ เช่น นิ้วมือติดกัน 3-4 นิ้ว มีแค่แขนท่อนบนต่อกับนิ้วมือ ไม่มีข้อศอก หรือเด็กที่แขนขาด้วนเนื่องจากประสบอุบัติเหตุ และการเกิดอันตรายในวัยเด็ก
1.6 โรคกระดูกอ่อน (Osteogenesis Imperfeta) เป็นผลทำให้เด็กไม่เจริญเติบโตสมวัย ตัวเตี้ย มีลักษณะของกระดูกผิดปกติ กระดูกยาวบิดเบี้ยวเห็นได้ชุดจากระดูกหน้าแข็ง
2. ความบกพร่องทางสุขภาพ ที่มักพบบ่อย ได้แก่
2.1 โรคสมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมองที่พบบ่อยมีดังนี้
2.1.1 ลมบ้าหมู (Grand Mal)
2.1.2 การชักในช่วยเวลาสั้น ๆ (Petit Mal)
2.1.3 การชักแบบรุนแรง (Grand Mal)
2.1.4 อาการชักแบบพาร์ชัล คอมเพล็กซ์ (Partial Complex)
2.1.5 อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial)
2.2 โรคระบบทางเดินหายใจโดยมีอาการเรื้อรังของโรคปอด (Asthma) เช่น หอบหืด วัณโรค ปอดบวม
2.3 โรคเบาหวานในเด็ก เกิดจากร่างกายไม่สามารถใช้กลูโคสได้อย่างปกติ เพราะขาดอินชูลิน
2.4 โรคข้ออักเสบรูมาตอย มีอาการปวดตามข้อเข่า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อนิ้วมือ
2.5 โรคศีรษะโต เนื่องมาจากน้ำคั่งในสมอง ส่วนมากเป็นมาแต่กำเนิด ถ้าได้รับการวินิจฉัยโรคเร็วและรับการรักษาอย่างถูกต้องสภาพความพิการจะไม่รุนแรง เด็กสามารถปรับสภาพได้และมีพื้นฐานทางสมรรถภาพดีเช่นเด็กปกติ
2.6 โรคหัวใจ (Cardiac Conditions) ส่วนมากเป็นตั้งแต่กำเนิด เด็กจะตัวเล็กเติบโตไม่สมอายุ ซีดเซียว เหนื่อยหอบง่าย อ่อนเพลีย ไม่แข็งแรงตั้งแต่กำเนิด
2.7 โรคมะเร็ง (Cancer) ส่วนมากเป็นมะเร็งเม็ดโลหิต และเนื้องอกในดวงตา สมอง กระตูก และไต
2.8 บาดเจ็บแล้วเลือดไหลไม่หยุด (Hemophilia)

วันพุธที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เด็กบกพร่องทางสติปัญญา

เด็กบกพร่องทางสติปัญญา

เด็กบกพร่องทางสติปัญญา หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์ เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน มี 2 กลุ่ม คือ
1. เด็กเรียนช้า หมายถึง เด็กที่มีความสามารถในการเรียนล่าช้ากว่าเด็กปกติ จัดเป็นพวกขาดทักษะในการเรียนรู้ หรือมีความบกพร่องทางสติปัญญาเพียงเล็กน้อย เด็กเหล่านี้จะมีระดับสติปัญญา (IQ) ประมาณ 71-90
2. เด็กปัญญาอ่อน หมายถึง เด็กที่มีภาวะพัฒนาการของจิตใจหยุดชะงัก หรือเจริญไม่เต็มที่ ซึ่งแสดงลักษณะเฉพาะ คือ มีระดับสติปัญญาต่ำ มีความสามารถในการเรียนรู้น้อย มีพัฒนาการทางกายล่าช้าไม่เหมาะสมกับวัย มีความสามารถจำกัดในการปรับตัวต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม
เด็กปัญญาอ่อนแบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม คือ
1. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก มีระดับสติปัญญาต่ำกว่า (IQ) 20 ลงไป
2. เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 20-34
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 35-49
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย มีระดับสติปัญญา (IQ) ระหว่าง 50 -70 กลุ่มนี้พอจะเรียนในระดับประถมศึกษาได้ และสามารถฝึกอาชีพและงานง่าย ๆ ได้ เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า E.M.R. (Educable Mentally Retarded)

ลักษณะบางอย่างของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่พอสังเกตได้ ดังนี้
1. พัฒนาการทางร่างกาย ภาษา อารมณ์ และสังคม
2. ไม่พูด หรือพูดได้ไม่สมวัย
3. ช่วงความสนใจสั้น วอกแวก
4. ขาดความสนใจในสิ่งที่เฉพาะเจาะจง
5. ความคิด และอารมณ์เปลี่ยนแปลงง่าย
6. อดทนต่อการรอคอยน้อย
7. ทำงานช้า
8. ทำอะไรรุนแรง ไม่มีเหตุผล ไม่ถูกกาลเทศะ
9. ความเข้าใจจากการฟังดีกว่าจากการอ่าน
10. การจำตัวอักษร หรือข้อความน้อยกว่าวัย
11. มักมีปัญหาทางการพูด
12. อวัยวะภายนอกบางส่วนมีรูปร่างผิดปกติ
13. กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
14. ไม่สามารถปรับตัวได้
15. ไม่สามารถช่วยตนเองได้ เมื่อเปรียบเทียบกับเด็กวัยเดียวกัน
16. ชอบเล่นกับเด็กที่มีอายุน้อยกว่า

เด็กออทิสติก

เด็กออทิสติก

ออทิสติกหรือออทิสซึม
เป็นความผิดปกติที่พบได้ตั้งแต่วัยก่อน 30 เดือน โดยเด็กจะมีความบกพร่องดังต่อไปนี้
1. ด้านภาษา พูดช้ากว่าปกติ และไม่สามารถใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ เช่นเปล่งเสียงที่ไม่มีความหมาย หรือพูดทวนวลีซ้ำ ๆ
2. ด้านการเล่น ไม่เล่นกับเด็กอื่น ๆ สนใจของเล่นเฉพาะบางประเภทเป็นพิเศษ
3. ด้านความสำพันธ์กับบุคคลรอบข้าง ไม่แสดงความผูกพันแบบเด็กทั่ว ๆ ไป เช่นไม่สนใจบุคคลรอบข้าง ไม่สบตา ไม่กลัวคนแปลกหน้า เข้ามาหาแบบผิวเผิน ออทิสติก ไม่ใช่ปัญญาอ่อน แต่สามารถพบร่วมกันได้ ร้อยละ 75-80 ในเด็กปกติ 10,000 คน จะพบเด็กออทิสติกประมาณ 4 คน เป็นเพศชายมากกว่าเพศหญิง 4 เท่า เดิมเชื่อว่าสาเหตุมาจากการเลี้ยงดูที่ทอดทิ้ง ไม่สนใจ แต่ปัจจุบันพบว่าเป็นจากความผิดปกติของสมอง

การช่วยเหลือ
เน้นเรื่องการปรับพฤติกรรม เพื่อกระตุ้นพัฒนาการด้านที่บกพร่องให้ใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด โดยพ่อแม่หรือผู้ปกครอง จะมีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือเด็กร่วมกับผู้รักษา อาจมีการใช้ยา เพื่อควบคุมพฤติกรรมอย่างที่เป็นปัญหาต่อการฝึก เช่น อาการอยู่ไม่นิ่ง ก้าวร้าวรุนแรง แต่ยาไม่สามารถรักษาภาวะออทิสติกให้หายได้
ผลของการรักษา ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ ระดับสติปัญญา และการช่วยฝึกของผู้ปกครอง บางรายสามารถเข้าโรงเรียนได้ และอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับภาวะปกติ บางรายต้องอยู่ภายใต้การดูแลของพ่อแม่
หลักการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
- เริ่มจากความสนใจและความสามารถที่เด็กมีอยู่ โดยมุ่งเน้นทักษะที่จำเป็นในชีวิตประจำวันก่อน
- แบ่งกิจกรรมเป็นส่วนย่อย ให้เด็กเริ่มจากง่ายไปหายาก
- ใช้ช่วงเวลาสั้น ๆ แล้วค่อยเพิ่มมากขึ้น - ทำตัวอย่างให้ดู ให้ความช่วยเหลือเท่าที่จำเป็น
- สื่อสารด้วยคำพูดที่ง่าย สั้น ชัดเจน
- ให้การเสริมแรงทันที เช่น ให้ขนม สิ่งที่เด็กชอบ หรือสวมกอด เมื่อเด็กทำถูกต้อง
- เมื่อทำได้แล้ว จึงค่อยเพิ่มการเรียนรู้ใหม่เข้ากับทักษะเดิม
- แสวงหาพฤติกรรมที่ดี เสริมสร้างให้เด็กไปทีละขั้น
จุดสำคัญของการฝึก คือ
- ต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับเด็กว่าเขาทำได้
- ต้องใช้ความรัก ความเมตตา และความอดทนอย่างไม่มีเงื่อนไข
หลักการฝึกพูด
- เริ่มจากการสอนความเข้าใจภาษาเช่นเดียวกับเด็กปกติ เช่น ให้เด็กรู้จักชื่อตัวเอง บุคคลในครอบครัว และสิ่งต่าง ๆ รอบตัวที่พบเห็นบ่อย ๆ ก่อน จึงค่อยสอนจากภาพหรือหนังสือ
- สอนให้ทำตามคำสั่งง่าย ๆ เช่น สวัสดี ขอ ยกมือ ฯลฯ
- สอนให้เด็กเคลื่อนไหวอวัยวะการพูดตามคำสั่ง เช่น อ้าปาก แลบลิ้น เป่าลม ฯลฯ โดยทำให้ดูเป็นตัวอย่าง ให้เด็กทำตามแบบ
- สอนให้เด็กเลียนเสียงพูดที่มีความหมาย เริ่มจากคำที่เด็กออกเสียงได้หรือใกล้เคียง ถ้าเด็กไม่ออกเสียงเลย
- สอนออกเสียงโดยเลือกคำที่ออกเสียงตามได้ง่าย หรือมองเห็น&Ati>

เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น

การปรับและพฤติกรรม
การปรับตัวของเด็กตาบอดจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมที่เด็กอาศัยอยู่ ได้เอื้อในเรื่องการปรับตัวมากน้อยเพียงใด นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กในครอบครัว การยอมรับของสังคมและการยอมรับสภาพของตนเองถ้าเด็กได้รับการยอมรับทางสังคมมาก มีความสำเร็จส่วนตัวดี ก็สามารถทำให้เด็กปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้ดียิ่งขึ้น
หลักการฝึกการเลี้ยงดูและส่งเสริม
- การเลี้ยงดูเพื่อให้เคลื่อนไหวร่างกายอย่างคล่องแคล่ว
- การเลี้ยงดูเพื่อให้มีพัฒนาการทางอารมณ์ สังคม
- การเลี้ยงดูเพื่อส่งเสริมสติปัญญา
การป้องกันอันตราย
- ระวังเกี่ยวกับปลั๊กไฟ ความร้อนและเตาไฟ
- ของแหลม ของมีคม ของใช้ที่วางไม่เป็นที่
- การพลัดตกจากที่สูง การลื่นล้ม สิ่งที่เป็นพิษ
เด็กพิการทางการเห็น
ความหมายและประเภทของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น
1. เด็กตาบอด เป็นเด็กที่สูญเสียสายตาโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถใช้สายตาในการเรียน
2. เด็กที่มองเห็นเลือนลาง ตาบอดเป็นบางส่วน มีการมองเห็นเหลืออยู่มาก จึงมองเห็นได้ลางๆ 20 - 70 ฟุต หรือน้อยกว่านั้น ในสายตาข้างที่ดีหลังจากการช่วยเหลือแก้ไขแล้ว สามารถเรียนได้
ลักษณะอาการที่มีความผิดปกติของสายตา
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง น้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือมีอาการตาแดงบ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มอไม่เห็นชัดเจนในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุระยะไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่น ขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวัง หรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักขยี้ตาบ่อยๆ กระพริบตาบ่อย อ่านหนังสือได้ระยะเวลาสั้น
7. สายตาสู้แสงสว่างไม่ได้
การช่วยเหลือ
การเตรียมความพร้อมด้านความคุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมและการเคลื่อนไหว เช่น การใช้สายตา การฟังเสียง การสัมผัส การดมกลิ่น เป็นต้น
การเตรียมความพร้อมในการช่วยตนเอง เช่น การทานอาหาร การแต่งกาย
ลักษณะของคนตาบอด
คนที่จัดว่าตาบอด คือ บุคคลที่มองอะไรไม่เห็นเลย ไม่สามารถอาศัยสายตาในการศึกษาเล่าเรียนได้เป็นบุคคลที่มองเห็นได้ในระดับ 20/200 คือมองเห็นได้ในระยะ 20 ฟุต ในขณะที่คนธรรมดามองเห็นได้ในระยะ 200 ฟุต
Abel ได้จำแนกให้เห็นถึงความสามารถในการมองเห็นของคนตาบอดไว้ 5 จำพวก คือ
ตาบอดสนิท (Total Blindness) คือ คนที่มองเห็นได้ไม่มากกว่า 2/200 และไม่สามารถมองเห็นการโบกมือในระยะห่าง 3 ฟุต ได้เลย
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 5/200 แต่ไม่สามารถนับนิ้วมือได้ในระยะห่างออกไป 1 ฟุต
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 10/200 แต่ไม่อาจอ่านพาดหัวข่าวหนังสือพิมพ์ได้ สามารถรับรู้การเคลื่อนไหวได้บ้าง
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านพาดหัวหนังสือพิมพ์ตัวโตๆได้ แต่อ่านได้ไม่เกิน 14 จุด
ผู้มองเห็นได้ในระยะ 20/200 สามารถอ่านได้ 10 จุด แต่ไม่สามารถใช้สายตาให้เป็นประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ประเภทของผู้ที่มีปัญหาทางสายตา
Lowenfeld (1955) ได้จำแนกผู้บกพร่องทางสายตาออกเป็น 6 ประเภท คือ
1. พวกที่บอดสนิทโดยกำเนิดหรือบอดภายหลังอายุครบ 5 ขวบ
2. ภายหลังมีอายุ 5 ขวบไปแล้วจึงบอดสนิท
3. พวกที่มองเห็นอย่างเลือนลางมาตั้งแต่กำเนิด
4. ตาบอดไม่สนิทโดยกำเนิด
5. ตาบอดไม่สนิทแต่ต่อมาเกิดบอดสนิท
6. พวกที่พอมองเห็นบ้าง แต่ต่อมาบอดสนิท
เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตาโดยทั่วไปจะเคลื่อนไหวช้าประสาทสัมผัสบางส่วนจะทำงานได้ดีกว่าคนปกติเช่น ประสาทหู และความสามารถด้านความจำส่วนสุขภาพโดยทั่วไปจะไม่แตกต่างจากเด็กปกติ รวมทั้งการพูดจาก็จะใช้ภาษาพูดตามปกติแต่จะเรียนการพูดได้ช้ากว่าเด็กปกติ เด็กตาบอดจะพูดเสียงดัง แต่น้ำเสียงปกติจะไม่มีการใช้มือประกอบท่าทางการพูด และเวลาพูดจะเผยอริมฝีปากเล็กน้อย
อาการที่บอกถึงความผิดปกติของสายตา (symptoms of Visual Impairment)
1. มีอาการคันตาเรื้อรัง มีน้ำตาไหลอยู่เสมอ หรือตาแดงอยู่บ่อยๆ
2. มักมองเห็นภาพซ้อน วิงเวียนศีรษะ มองเห็นไม่ชัดในบางครั้ง
3. เวลามองวัตถุไกลๆ ต้องขยี้ตา หรือทำหน้าย่นขมวดคิ้ว
4. เวลาเดินต้องมองอย่างระมัดระวังหรือเดินช้าๆ โดยกลัวจะสะดุดสิ่งที่ขวางหน้า
5. ไม่มีความสนใจดูภาพที่ติดตามฝาผนัง หรือข้อความที่เขียนบนกระดานดำ
6. มักบ่นเรื่องสายตาอยู่เสมอ
7. ไม่ชอบการทำงานที่ต้องใช้สายตา
8. กระพริบตาบ่อยๆ ขณะอ่านหนังสือ
9. วางหนังสือในลักษณะผิดปกติขณะอ่านใกล้หรือไกลเกินไป
10. ขณะอ่านต้องเอียงศีรษะ
11. อ่านหนังสือได้ในระยะเวลาสั้น
12. ขณะอ่านหนังสือต้องปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง
13. สายตาสู้แสงสว่างไม่ค่อยได้
สาเหตุของความบกพร่องทางสายตา (Causes of Umpaired Vision)
สาเหตุโดยทั่วไปของความบกพร่องทางสายตาเกิดได้จากการใช้ยาหยอดตาพร่ำเพรื่อ ใช้เองโดยไม่ปรึกษาแพทย์ อาจเกิดเป็นต้อหินได้ อาจเกิดได้จากการเป็นโรคเนื้องอกที่ตาหรือได้รับบาดเจ็บที่ตาอันมาจากอุบัติเหตุต่างๆ หรืออาจเกิดจากสาเหตุอื่นๆ ซึ่งพอสรุปได้ สาเหตุใหญ่ๆ ด้วยกันคือ
- เกิดจากการได้รับบาดเจ็บเกี่ยวกับตา
- เกิดจากพันธุกรรม
Kerby (1958) ได้ศึกษาพบว่าเด็กตาบอดประมาณ 14 - 15 % มีสาเหตุมาจากพันธุกรรมสาเหตุของความบกพร่องทางสายตา อันเกิดจากพันธุกรรมนั้น ได้แก่ ความผิดปกติของดวงตา ทำให้กลายเป็นคนสายตาสั้นหรือสายตายาวได้
การปรับตัวส่วนตัวและการปรับตัวทางสังคมของเด็กตาบอด (Personal and Social Adjustment)
การปรับตัวของเด็กตาบอดไม่ว่าจะเป็นด้านส่วนตัวหรือทางสังคมขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจของเด็กแต่ละคน คือ เด็กที่มีฐานะดี ก็จะได้รับการเลี้ยงดูอย่างดี ส่วนเด็กที่ครอบครัวยากจน ขาดความอบอุ่น ตามปกติ เด็กตาบอดมักจะไม่คิดว่าตนเองอยู่ในโลกมืดไม่เศร้าเสียใจ กับความบกพร่องทางสายตาของตนเท่าไรนัก มีบางคนเท่านั้นที่มีความรู้สึกหดหู่ที่มองไม่เห็นเนื่องมาจากได้ยินคำบอกเล่าหรือคำพูดเปรียบเทียบ ความสุขของเด็กตาบอดขึ้นอยู่กับ 3 ประการ คือ 1. การยอมรับของสังคม
2. ความสำเร็จส่วนตัว
3. การยอมรับสภาพของตน
การเป็นอยู่ของคนตาบอดมักไม่เกี่ยวข้องกับคนปกติมากนัก กิจกรรมของพวกเขามักเป็นกิจกรรมซ้ำๆ เช่น การร้องเพลง คนตาบอดมักร้องเพลงได้ดี คนปกติทั่วไปมักเข้าใจว่า คนตาบอดจะสติปัญญาทึบ หรือมีลักษระเป็นคนไร้ความสามารถซึ่งความจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้นเลย พัฒนาการทางด้านร่างกาย ความบกพร่องทางสายตาไม่ได้มีอิทธิพลต่อความเจริญเติบโตของเด็ก นำหนัก ส่วนสูง เหมือนคนปกติจะเสียเปรียบตรงที่การกระทำที่ต้องใช้ทักษะต่างๆ ซึ่งคนตาบอดมักได้รับการฝึกฝนใช้กล้ามเนื้อส่วนต่างๆ การมองไม่เห็น ทำให้เด็กคลานช้า เดินช้า และขาดการฝีกฝนในกิจกรรมที่ต้องใช้ความรวดเร็วทุกชนิดเช่น การขี่จักรยาน การเล่นฟุตบอล หรือกีฬาอื่นๆ
พัฒนาการทางสมอง
เด็กตาบอดจะเสียเปรียบเพราะขาดการรับรู้ทางสายตา เป็นเหตุให้พัฒนาการทางสมองช้าไปด้วย แต่ความสามารถทางสมองของพวกเขาไม่ได้ลดหรือเพิ่ม อันเนื่องมาจากการมองไม่เห็นแต่อย่างใด เพียงแต่สติปัญญาของเด็กตาบอดไม่อาจพัฒนาได้ดีได้จนถึงที่สุดเท่านั้น ได้ทำการทดสอบวัดของเด็กตาบอดจากโรงเรียนต่างๆ สรุปไว้ว่า เด็กตาบอดนั้นยังคงมีความสามารถทางสมองเป็นปกติ
พัฒนาทางการทางอารมณ์
เด็กตาบอดมีความต้องการเช่นเดียวกับคนปกติทุกประการ แต่จะมีช่วงที่สร้างความปั่นป่วนให้คนตาบอดมากคือ เมื่อต้องพึ่งพาผู้อื่นในด้านสายตาเพราะเขาทำเองไม่ได้ ิต่อมาระยะที่เขาจำเป็นต้องหางานทำ ความวิตกกังวลในการดำรงชีวิตต่อไปโดยให้ได้รับความปลอดภัย และเกิดเป็นความหวาดกลัวที่จะไปไหนมาไหน กลัวอันตรายต่างๆ
พัฒนาการทางสังคม
การมองไม่เห็นมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสังคมของเด็กตาบอดมาก พวกเขาต้องการที่จะเรียนรู้ประสบการณ์ต่างๆ มากกว่าเด็กธรรมดาเพื่อเขาจะได้ไม่ว้าเหว่ ต้องการเรียนรู้การเป็นผู้ให้และผู้รับด้วยเพื่อทำให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขเช่นเดียวกับเด็กทั่วไป

เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน

เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
ระหว่างเด็กหูตึงและเด็กหูหนวก
ก่อนอื่นควรเข้าใจว่า เด็กที่สูญเสียการได้ยินอาจเป็นได้ทั้งเด็กหูตึงและเด็กหูหนวก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียการได้ยินมาแต่กำเนิดหรือสูญเสียการได้ยินภายหลังก็ตาม
ถ้าเป็นเด็กหูหนวกจะหมายถึง เด็กที่สูญเสียการได้ยิน 90 เดซิเบลขึ้นไป เป็นคนที่ไม่สามารถได้ยินเสียงพูดจากเครื่องช่วยฟัง และจำเป็นต้องเรียนรู้การสื่อความหมายด้วยภาษามือ
ส่วนถ้าเป็นเด็กหูตึงจะหมายถึงเด็กที่สูญเสียการได้ยินระหว่าง 26 - 89 เดซิเบล ซึ่งในทางโสตสัมผัสวิทยา (audiology) ยังแบ่งลำดับหูตึงอีกหลายระดับ ดังนี้
ระดับหูตึงเล็กน้อย 26 – 40 เดซิเบล
ระดับหูตึงปานกลาง 41 – 55 เดซิเบล

ระดับหูตึงมาก 56 – 70 เดซิเบล
ระดับหูตึงรุนแรง 71 – 90 เดซิเบล ซึ่ง คนหูตึงสามารถได้ยินเสียงพูดจากเครื่องช่วยฟัง และสามารถพัฒนาให้สื่อความหมายด้วยภาษาพูดได้
ลักษณะและพฤติกรรมของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เนื่องจากเด็กที่บกพร่องทางการได้ยินมีปัญหาในเรื่องการสื่อความหมาย ทำให้ไม่สามารถเรียนรู้และเข้าใจภาษาได้ตามปกติ
ถ้าพิจารณาถึงการแสดงออกทางร่างกายโดยเฉพาะในวัยทารก เด็กจะไม่มีปฏิกิริยาต่อเสียงรอบๆตัว เมื่อโตขึ้นก็จะสังเกตพบว่า เด็กมักไม่ค่อยตอบคำถามในทันที มักใช้คำถามซ้ำ บางคนก็ชอบเอามือป้องหู ครอบหูไว้ เมื่อมีคนพูดด้วย ก็ชอบเอนศีรษะและขยับตัวเข้ามาใกล้มาก เพื่อให้ได้ยินเสียงหรือบางครั้งเด็กบ่นปวดหู และมักหายใจทางปาก บางคนมีการเคลื่อนไหวเร็ว ซนมากกว่าปกติ บางรายมีอาการทรงตัวผิดปกติ
เมื่อพิจารณาถึงการแสดงออกทางการพูดและการเขียนจะพบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีปัญหาในทางการพูด บางกรณีพูดเสียงดังหรือเบาผิดปกติ มักหลีกเลี่ยงการสนทนากับผู้อื่น เมื่อพูดก็มักพูดด้วยประโยคไม่ต่อเนื่อง นอกจากนี้ เด็กบางคนอาจพูดไม่ได้หรือพูดไม่ชัด ซึ่งขึ้นอยู่กับการสูญเสียการได้ยินของเด็ก เด็กที่สูญเสียการได้ยินเล็กน้อย อาจพอพูดได้ ส่วนเด็กที่สูญเสียการได้ยินมาก หรือหูหนวก อาจพูดไม่ได้เลย หากไม่ได้รับการสอนพูดตั้งแต่ในวัยเด็ก นอกจากนี้ การพูดยังขึ้นอยู่กับอายุของเด็กเมื่อสูญเสียการได้ยิน กล่าวคือ หากเด็กสูญเสียการได้ยินแต่กำเนิด เด็กจะมีปัญหาในการพูดอย่างมาก แต่ถ้าเด็กสูญเสียการได้ยินหลังจากที่เด็กพูดได้แล้ว ปัญหาในการพูดก็จะน้อยกว่า
ส่วนในเรื่องการเขียนของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้น พบว่า การเขียนประโยคของเด็ก จะมีลักษณะเขียนแบบกลับไปกลับมา วางผิดที่ ไม่เป็นไปตามลำดับประธาน กริยา กรรม เนื่องจากเด็กมีความชำนาญในการใช้ภาษามือ แต่ภาษามือเป็นภาษาโดดๆ ไม่มีระเบียบของถ้อยคำ นอกจากนี้ เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีความรู้เกี่ยวกับคำศัพท์ในวงจำกัด ทำให้การเรียนคำมีความผิดทางหลักภาษา ข้อผิดพลาดในด้านไวยกรณ์ของประโยคที่พบคือ การเขียนคำตกหล่น การเขียนสลับที่หรือการแทนที่ผิดตำแหน่ง การเรียงตำแหน่งของคำผิดพลาด หรือการเพิ่มคำที่ไม่จำเป็น นอกจากนี้ ยังพบว่า จำนวนประโยคที่เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินเขียน มักมีจำนวนน้อยกว่าปกติ และใช้คำง่ายๆ เขียนประโยคไม่ซับซ้อน ใช้ภาษาง่ายๆ และมักเขียนประโยคสั้นๆ
ลักษณะและพฤติกรรมที่แสดงออกทางอารมณ์และสังคม การปรับตัวเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน สาเหตุส่วนใหญ่มาจากการสื่อสารกับผู้อื่น หากเด็กสามารถสื่อสารได้ดี ปัญหาทางอารมณ์ก็ลดลง ทำให้เด็กสามารถปรับตัวได้ แต่ถ้าเด็กไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ดี ก็เกิดความคับข้องใจ ซึ่งส่งผลต่อพฤติกรรมของเด็ก นอกจากนี้ ยังพบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินส่วนใหญ่ไม่ชอบเข้ากลุ่มกับใคร ชอบอยู่ตามลำพัง อ่อนไหวง่าย หวาดระแวง ขี้สงสัย ไม่ค่อยยอมรับความสนิทสนมของผู้อื่นอย่างฉันท์มิตร เมื่อพูดด้วยก็จะจ้องหน้านาน และเมื่อมีปัญหาก็จะเก็บไว้คนเดียว ปรับตัวเข้ากับคนอื่นค่อนข้างยาก เห็นแก่ตัว มีบางรายเท่านั้นที่สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และการดูแลเอาใจใส่ของครอบครัว
ความบกพร่องทางการได้ยิน นอกจากจะมีผลต่ออารมณ์แล้ว ยังมีผลต่อจิตใจของเด็กอีกด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับเด็กแบบค่อยเป็นค่อยไปโดยการเรียนรู้จากพ่อแม่ และสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ในวัยทารก การพัฒนาทางอารมณ์และจิตใจของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน ขึ้นอยู่กับทัศนคติและความรู้สึกของพ่อแม่ที่มีต่อตัวเด็ก ความรู้สึกของแม่ไม่ว่าจะเป็นความเสียใจ ความโกรธ ผิดหวัง วิตกกังวล รำคาญ สงสาร หรือความรู้สึกไม่แน่ใจว่าลูกพิการจริงหรือไม่ล้วนถูกถ่ายทอดไปสู่ลูกทางสีหน้า ท่าทาง อากัปกิริยาที่พ่อแม่แสดงต่อเด็ก เมื่ออายุมากขึ้น เด็กที่บกพร่องทางการได้ยินก็จะยิ่งมีปัญหาทางอารมณ์และจิตใจซับซ้อนขึ้น เมื่อเข้าสู่วัยเรียนก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพของโรงเรียน เด็กอาจจะถูกมองว่าประหลาด ในขณะเดียวกัน เด็กจะรู้สึกว่าด้อยกว่าเด็กปกติทั้งทางด้านความเข้าใจและการใช้ภาษา ตลอดจนด้านวิชาการ
พฤติกรรมต่างๆ ซึ่งเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินแสดงออกมานี้ เป็นพฤติกรรมที่ต่างจากเด็กปกติ และมีผลต่อการพัฒนาด้านต่างๆ ของเด็กด้วย พัฒนาการที่เห็นได้ชัดเจนก็คือ พัฒนาการทางด้านของอารมณ์ เพราะผลจากการที่หูไม่ดี ทำให้พูดไม่ได้ และขาดภาษาในการสื่อความคิด ความรู้สึก และความต้องการของผู้อื่น เด็กเหล่านี้จึงมีความกดดันและจะแสดงพฤติกรรมบางอย่างที่บ่งถึงการไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเอง เช่น โมโห เอาแต่ใจ ก้าวร้าว ไม่ทำตามระเบียบข้อบังคับ เก็บตัว ซึมเศร้า นอกจากนี้ยังมีปัญหาด้านสังคมที่แสดงออกทางพฤติกรรมเช่น การขาดความมั่นใจในตัวเอง จากปัญหาดังกล่าว จึงทำให้เด็กเหล่านี้แสดงพฤติกรรมดังกล่าวที่ไม่เหมาะสม ซึ่งล้วนมาจากสาเหตุที่เด็กไม่เข้าใจความคิด ความรู้สึก และความต้องการของตนเอง
ลักษณะทางจิตวิทยาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีการกล่าวถึงว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน มีลักษณะไปในทางเอาตัวเองเป็นจุดศูนย์กลาง ขาดความเห็นอกเห็นใจคนอื่น ต้องพึ่งพาอาศัยคนอื่นอยู่ตลอดเวลา ไม่รู้จักควบคุมอารมณ์ และไม่เข้าใจตัวเองและพัฒนาการทางจิตวิทยาของเด็กมีความล่าช้า ขาดวุฒิภาวะทางอารมณ์ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาเพิ่มเติมที่พบว่า เด็กเหล่านี้มีปัญหาหลายประการได้แก่ ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ มีอาการทางระบบประสาทและมีปัญหาในการปรับตัวมากกว่าเด็กปกติในวัยเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวมิได้มิได้เกิดขึ้นกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินทุกคน
พัฒนาการทางด้านสังคมและบุคลิกภาพ
เนื่องจากเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินไม่สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้ด้วยคำพูด จึงทำให้มีปัญหาในการสื่อความหมาย ส่งผลให้เด็กมีพัฒนาการทางสังคมและบุคลิกภาพแตกต่างจากเด็กปกติ และมีปัญหาในการดำรงชีวิตมากกว่าเด็กปกติ กล่าวคือ เด็กกลุ่มนี้จะเติบโตมาในสังคมด้วยความรู้สึกที่โดดเดี่ยว ชอบแยกตัวออกจากสังคม มีความลำบากในการปรับตัวเข้ากับสังคม และไม่ได้รับการยอมรับจากผู้อื่น นอกจากนี้ยังมีผู้ศึกษาพบว่า เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มที่จะยึดความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ และมีจิตใจอ่อนไหว โลเลอีกด้วย
พัฒนาการทางสติปัญญา
มีผู้ศึกษาพบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินนั้น โดยเฉลี่ยแล้วมีสติปัญญาต่ำกว่าเด็กปกติเล็กน้อย และยังพบว่า บางคนมีสติปัญญาสูงกว่าเด็กปกติ แต่อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพัฒนาการทางภาษาของเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยินมักแตกต่างไปจากปกติ เพราะมีความบกพร่องในการรับรู้ด้านภาษา ซึ่งภาษามีผลต่อสติปัญญาของเด็ก จึงทำให้เด็กกลุ่มนี้มีพัฒนาการทางสติปัญญาแตกต่างจากเด็กปกติ ทั้งนี้ยังขึ้นอยู่กับระดับความบกพร่องทางการได้ยินของเด็กอีกด้วย

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้LEARNING DISABILITY
เด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้ หรือ L.D. หมายถึง ผู้ที่มีปัญหาทางการเรียนรู้เฉพาะอย่าง โดยมีความบกพร่องหรือมีปัญหาหนึ่ง หรือมากกว่าหนึ่งในกระบวนการทางจิตวิทยาทำให้เด็กเหล่านี้ มีปัญหาทางการใช้ภาษา หรือการพูด การเขียน โดยจะแสดงออกมา ในลักษณะของการนำไปปฏิบัติทั้งนี้ไม่นับรวม เด็กที่มีปัญหาเพียงเล็กน้อย ทางการเรียน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการขาดแรงเสริม ด้วยโอกาสทางสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม หรือเป็นเพราะครูสอนไม่มีประสิทธิภาพ
สาเหตุของปัญหาทางการเรียนรู้
1. องค์ประกอบทางร่างกายและทางชีวภาพ สาเหตุนี้เกิดจากสภาพความบกพร่องของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความบกพร่องทางสมองที่ทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์ การบาดเจ็บอันเกิดที่สมอง หรือกระบวนการทางจิตวิทยาของมนุษย์ ได้แก่ การับรู้ของร่างกายต่อสิ่งต่าง ๆ รอบตัวผิดปกติ ส่วนใหญ่ที่สุดแล้วสภาพทางชีววิทยาของเด็กที่เชื่อว่ามีผลต่อการเรียนรู้มาก เด็กที่มีความบกพร่องทางสมองและทางรับรู้ (เกิดจากประสาทส่วนกลางทำหน้าที่ไม่สมบูรณ์) มีผลทำให้การรับรู้ผิดไป
2. องค์ประกอบทางพันธุกรรม ปัจจุบันมีข้อมูลการวิจัยชี้แนวโน้มว่าความด้อยความสามารถทางการเรียนรู้เกิดเหมือนกันในครอบครัวเดียวกัน แม้ว่าจะเกี่ยวข้องกับพันธุกรรม หรือไม่ก็ตามก็เป็นประเด็นที่ควรทำการวิจัยต่อไป ผลการวิจับเกี่ยวข้องกับเด็กแฝดพบว่า เมื่อเด็กคนหนึ่งเป็นเด็กด้อยความสามารถในการอ่าน เด็กแฝดอีคนหนึ่งก็มีแนวโน้มเป็นเช่นเดียวกัน ถ้าทั้งคู่เป็นเด็กแฝดแท้ ( อ่าน Norrie, 1959 )
3. องค์ประกอบทางสิ่งแวดล้อม มีหลักฐานชี้ชัดว่า เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เสียเปรียบมีแนวโน้มมีปัญหาทางการเรียนรู้มากกว่า แต่ก็ยังมีข้อสงสัยกันว่า เกิดมาจากประสบการณ์การเรียนรู้ที่ไม่เหมาะสมหรือเกิดจากจากองค์ประกอบทางชีววิทยากันแน่ เช่นสภาพที่สมองถูกทำลายหรือภาวะทุพโภชนาการ
องค์ประกอบอีกอย่างหนึ่ง ที่อาจเป็นสาเหตุความด้อยความสามารถทางการเรียนรู้ ก็คือ การสอนที่ไม่ดีและไม่มีคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่าเด็กร้อยละ 90 ที่เป็นเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้นั้นได้รับการสอนที่ไม่ถูกต้องเหมาะสม
เทคนิคการสอนเด็กที่มีปัญหาทางการเรียนรู้
1.ให้โอกาสเด็กมีบกบาทในการวางแผนการเรียน
2. ใช้เทคนิคการเสริมแรง
3. ใช้อธิบายให้เด็กเข้าใจว่าพฤติกรรมใดเป็นพฤติกรรมที่ดี ที่ควรแสดงออก พฤติกรรมใดที่ไม่ดีไม่เป็นที่ยอมรับของสังคม เด็กไม่ควรแวดงออก ครูและเพื่อน ๆ ไม่ชอบ
4. ครูควรนำเทคนิคในการปรับพฤติกรรมใช้อย่างเป็นระบบ
5. ครูควรขอคำแนะนำและปรึกษาหารือกับผู้ปกครอง หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

เด็กพิเศษ

เด็กพิเศษ Special Child
เด็กพิเศษ (Special Child) เริ่มเป็นคำที่คุ้นหูมากขึ้นในปัจจุบัน หลายคนอาจสงสัยว่าพวกเขาคือใคร และเด็กแบบไหนหรือที่เป็นเด็กพิเศษ เด็กกลุ่มนี้มีความสำคัญอย่างไร
เด็กพิเศษ เริ่มได้รับความสนใจ และการดูแลช่วยเหลืออย่างจริงจัง มาเมื่อไม่นานนี้ ทั้งๆ ที่เด็กกลุ่มนี้มีมานานแล้ว เมื่อกล่าวถึงเด็กพิเศษ แต่ละคนก็มักมีความเข้าใจที่แตกต่างกันไป บางคนนึกถึงเด็กที่มีความสามารถพิเศษ บางคนนึกถึงเด็กที่มีความบกพร่อง
เด็กพิเศษ มาจากคำเต็มว่า “เด็กที่มีความต้องการพิเศษ” หมายถึงเด็กกลุ่มที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล ช่วยเหลือเป็นพิเศษ เพิ่มเติมจากวิธีการตามปกติ ทั้งในด้าน การใช้ชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ และการเข้าสังคม เพื่อให้เด็กได้รับการพัฒนาเต็มตามศักยภาพของเขาเอง โดยออกแบบการดูแล ช่วยเหลือเด็ก ตามลักษณะความจำเป็น และความต้องการของเด็กแต่ละคน
เด็กพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก ดังนี้
1. เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
2. เด็กที่มีความบกพร่อง
3. เด็กยากจนและด้อยโอกาส
เด็กแต่ละกลุ่ม มีความจำเป็นต้องได้รับการดูแลช่วยเหลือเป็นพิเศษเหมือนกัน แต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกัน ตามความเหมาะสมของเด็กแต่ละกลุ่ม แต่ละคน ในบทความนี้จะกล่าวถึงขอบเขตของเด็กพิเศษ แต่ละกลุ่มว่าเป็นอย่างไร เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกัน
1 ) เด็กที่มีความสามารถพิเศษ
เด็กกลุ่มนี้มักไม่ค่อยได้รับการดูแล ช่วยเหลืออย่างจริงจัง เนื่องจาก เรามักคิดว่าพวกเขาเก่งแล้ว สามารถเอาตัวรอดได้ บางครั้งกลับไปเพิ่มความกดดันให้มากยิ่งขึ้น เพราะคิดว่าพวกเขาน่าจะทำได้มากกว่าที่เป็นอยู่อีก วิธีการเรียนรู้ในแบบปกติทั่วไป ก็ไม่ตอบสนองความต้องการในเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ทำให้ความสามารถพิเศษที่มีอยู่ไม่ได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ
เด็กที่มีความสามารถพิเศษ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มย่อย ดังนี้
เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง คือ กลุ่มเด็กที่มี ระดับสติปัญญา (IQ) ตั้งแต่ 130 ขึ้นไป
เด็กที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้าน อาจไม่ใช่เด็กที่มีระดับสติปัญญาสูง แต่มีความสามารถพิเศษเฉพาะด้านที่โดดเด่นกว่าคนอื่นในวัยเดียวกัน อาจเป็นด้าน คณิตศาสตร์ - ตรรกศาสตร์ การใช้ภาษา ศิลปะ ดนตรี กีฬา การแสดง ฯลฯ
เด็กที่มีความคิดสร้างสรรค์
2) เด็กที่มีความบกพร่อง
มีการแบ่งหลายแบบ ในที่นี้จะยึดตามแนวทางของกระทรวงศึกษาธิการ ที่แบ่งออกเป็น 9 กลุ่ม ดังนี้
เด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็น
เด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน
เด็กที่มีความบกพร่องทางการสื่อสาร
เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกาย และการเคลื่อนไหว
เด็กที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ และพฤติกรรม
เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา (Intellectual Deficiency)
เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ (Learning Disabilities)
เด็กออทิสติก (รวมถึงความบกพร่องของพัฒนาการแบบรอบด้านอื่นๆ - PDDs)
เด็กที่มีความพิการซ้อน
3 ) เด็กยากจนและด้อยโอกาส
คือเด็กที่อยู่ในครอบครัวที่มีฐานะยากจน ขาดแคลนปัจจัยที่จำเป็นในการเจริญเติบโต และการเรียนรู้ของเด็ก และรวมถึงกลุ่มเด็กที่ด้อยโอกาสทางการศึกษาจากสาเหตุอื่นๆ เช่น เด็กเร่ร่อน เด็กถูกใช้แรงงาน เด็กต่างด้าว ฯลฯ
เด็กกลุ่มต่างๆที่กล่าวถึง เป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ควรได้รับการดูแลเพิ่มเติมด้วยวิธีการพิเศษ ซึ่งต่างไปจากวิธีการตามปกติ เพื่อช่วยให้สามารถพัฒนาได้เต็มตามศักยภาพที่มีอยู่ได้ เพื่อให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี มีโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียม และได้รับการยอมรับในสังคม

จังหวัดมหาสารคาม

จังหวัดมหาสารคาม Maha Sarakham Province
หน่วยการปกครอง Administrative divisions
The province is subdivided into 11 districts (Amphoe) and 2 minor districts (King Amphoe). The districts are further subdivided into 133 communes (tambon) and 1804 villages (muban).


การปกครองแบ่งออกเป็น 11 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 133 ตำบล 1804 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองมหาสารคาม
  2. อำเภอแกดำ
  3. อำเภอโกสุมพิสัย
  4. อำเภอกันทรวิชัย
  5. อำเภอเชียงยืน
  6. อำเภอบรบือ
  7. อำเภอนาเชือก
  8. อำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
  9. อำเภอวาปีปทุม
  10. อำเภอนาดูน
  11. อำเภอยางสีสุราช
  12. กิ่งอำเภอกุดรัง
  13. กิ่งอำเภอชื่นชม




สัญลักษณ์ประจำจังหวัด








ตราประจำจังหวัด: รูปต้นรังใหญ่ (มาจากคำว่า มหาสาละ ในชื่อจังหวัดมหาสารคาม) กับทุ่งนา
ดอกไม้ประจำจังหวัด:
ดอกลั่นทมขาว (Plumeria alba)
ต้นไม้ประจำจังหวัด:
มะรุมป่า (Albizia lebbeck)
คำขวัญประจำจังหวัด: พุทธมณฑลอีสาน ถิ่นฐานอารยธรรม ผ้าไหมล้ำเลอค่า ตักสิลานคร




แหล่งท่องเที่ยว




พระธาตุนาดูน พระธาตุนาดูน หรือพุทธมณฑลอีสาน ตั้งอยู่ที่อำเภอนาดูน ห่างจากจังหวัดมหาสารคาม 65 กิโลเมตรเป็นแหล่งที่มีการขุดพบหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี ที่ตั้ง “นครจำปาศรี” ในอดีตสมัย ทวาราวดีมีการขุดพบสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุทำด้วยทองสำริดพบเมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2522







กู่สันตรัตน์ ตั้งอยู่ที่ บ้านกู่โนนเมือง ตำบลกู่สันตรัตน์ อำเภอนาดูน ห่างจากจังหวัดมหาสารคาม 60 กิโลเมตร เป็นปราสาทหิน อโรคยาศาล สร้างด้วยศิลาแลง สมัยพระ เจ้าชัยวรมันที่ 7 เป็นศิลปะขอมแบบบายน













































จังหวัดกาฬสินธ์

จังหวัดกาฬสินธุ์ Kalasin (Provinz)
Verwaltungseinheiten

การปกครองแบ่งออกเป็น 14 อำเภอ 4 กิ่งอำเภอ 134 ตำบล 1509 หมู่บ้าน
Die Provinz ist eingeteilt in 14 Distrikte (Amphoe) und 4 Unterdistrikte (King Amphoe). Die Distrikte sind weiter unterteilt in 134 Kommunen (Tambon) und 1509 Dörfer (Mubaan).
Amphoe(Kreise) King Amphoe(Unterkreise)
Mueang Kalasin - อำเภอเมืองกาฬสินธุ์
Na Mon - อำเภอนามน
Kamalasai - อำเภอกมลาไสย
Rong Kham - อำเภอร่องคำ
Kuchinarai - อำเภอกุฉินารายณ์
Khao Wong - อำเภอเขาวง
Yang Talat - อำเภอยางตลาด
Huai Mek - อำเภอห้วยเม็ก
Sahatsakhan - อำเภอสหัสขันธ์
Kham Muang - อำเภอคำม่วง
Tha Khantho - อำเภอท่าคันโท
Nong Kung Si - อำเภอหนองกุงศรี
Somdet - อำเภอสมเด็จ
Huai Phueng - อำเภอห้วยผึ้ง
Sam Chai - กิ่งอำเภอสามชัย
Na Khu - กิ่งอำเภอนาคู
Don Chan - กิ่งอำเภอดอนจาน
Khong Chai - กิ่งอำเภอฆ้องชัย

สัญลักษณ์ประจำจังหวัด





ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกพยอม (Shorea roxburghii)
ต้นไม้ประจำจังหวัด: แสมสาร (Cassia garrettiana)
คำขวัญประจำจังหวัด: เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมภูไท ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี



สถานที่ท่องเที่ยว

แม่น้ำลำปาวแม่น้ำลำปาวอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของหมู่ 4 บ้านยางอู้ม เป็ฯแหล่งปลาน้ำจืด และแหล่งประมงของหมู่บ้าน มีทิวทัศน์ที่สวยงาม เป็นสถานที่ศึกษาวิถีชีวิตการประมงพื้นบ้านตำบลตำบลยางอู้ม อำเภอท่าคันโท จังหวัดกาฬสินธุ์










ไดโนเสาร์จำลอง ไดโนเสาร์จำลอง จัดสร้างขึ้นโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลกุดหว้า สร้างขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ จ.กาฬสินธุ์ ตั้งอยู่ริมถนน สายกุฉินารายณ์ – มุกดาหาร เหมาะที่จะเป็นที่พักริมทางของผู้ที่สัญจรไปมาตำบลตำบลกุดหว้า อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์









ถ้ำฝ่ามือแดงเป็นแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ ที่สวยงามตั้งอยู่บนเทือกเขาภูสีฐาน ภายในจะมีรูปฝ่ามือสวยงาม เหมาะสำหรับทัศนศึกษา และพักผ่อนหย่อนใจ ตำบลตำบลหนองห้าง อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์















วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550

เรื่องที่1


จังหวัดอุดรธานี


จังหวัดอุดรธานี เป็นจังหวัดอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 564 กิโลเมตร มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 11 ของประเทศ และอันดับ 4 ของภาค (ประมาณ 7,331,438.75 ไร่) และประชากรมากเป็นอันดับ 8 ของประเทศ ทั้งยังมีแหล่งอารยธรรมที่เก่าแก่แห่งหนึ่งของภูมิภาค มีสภาพภูมิประเทศที่อุดมสมบูรณ์ และยังมีแหล่งท่องเที่ยวมากมายอีกด้วย
อาณาเขต
อุดรธานีมีอาณาเขตติดกับจังหวัดอื่นๆ ดังนี้
· ทิศเหนือ จรด จังหวัดหนองคาย
· ทิศตะวันออก จรด จังหวัดสกลนคร และ กาฬสินธุ์
· ทิศใต้ จรด จังหวัดขอนแก่น และ กาฬสินธุ์
· ทิศตะวันตก จรด จังหวัดเลย และ หนองบัวลำภู
ภูมิประเทศ
ภูมิประเทศของอุดรธานี มีทั้งที่ราบ ที่ราบลุ่ม และที่ราบสูง มีแหล่งน้ำที่สำคัญ คือ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง
เส้นทางคมนาคม
เส้นทางคมนาคมที่สำคัญของอุดรธานี คือ
· ทางรถยนต์ ได้แก่ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 2 (ถนนมิตรภาพ) และทางหลวงหมายเลข 22
· ทางรถไฟ ได้แก่ สายกรุงเทพ-หนองคาย
· ทางอากาศ ได้แก่ ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี
หน่วยการปกครอง
การปกครองแบ่งออกเป็น 18 อำเภอ 2 กิ่งอำเภอ 155 ตำบล 1682 หมู่บ้าน. อำเภอหมายเลข 12-16 ตามรหัสเขตการปกครองคือจังหวัดหนองบัวลำภูในปัจจุบัน
1. อำเภอเมืองอุดรธานี
2. อำเภอกุดจับ
3. อำเภอหนองวัวซอ
4. อำเภอกุมภวาปี
5. อำเภอโนนสะอาด
6. อำเภอหนองหาน
7. อำเภอทุ่งฝน
8. อำเภอไชยวาน 9. อำเภอศรีธาตุ
10. อำเภอวังสามหมอ
11. อำเภอบ้านดุง
17. อำเภอบ้านผือ
18. อำเภอน้ำโสม
19. อำเภอเพ็ญ
20. อำเภอสร้างคอม
21. อำเภอหนองแสง
22. อำเภอนายูง
23. อำเภอพิบูลย์รักษ์
24. กิ่งอำเภอกู่แก้ว
25. กิ่งอำเภอประจักษ์ศิลปาคม


สัญลักษณ์ประจำจังหวัด


ตราประจำจังหวัดอุดรธานี รูปท้าวเวสสุวัณ หรือ ท้าวกุเวรประทับยืนถือกระบอง หมายถึง เทพยดาผู้คุ้มครองรักษาประจำทิศอุดรจังหวัดอุดรธานี
· ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกทองกวาว (Butea monosperma)
· ต้นไม้ประจำจังหวัด: เต็ง (Shorea obtusa)
· คำขวัญประจำจังหวัด: น้ำตกจากสันภูพาน อุทยานแห่งธรรมะ อารยธรรมห้าพันปี ธานีผ้าหมี่ขิด แดนเนรมิตหนองประจักษ์ เลิศลักษณ์กล้วยไม้หอมอุดรซันไชฌ์
· อักษรย่อ : อด
อุทยาน
· อุทยานแห่งชาตินายูง-น้ำโสม
· อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท
Map of Thailand highlighting Udon Thani Province}


Udon Thani Province
Udon Thani (Thai: อุดรธานี) is one of the north-eastern provinces (changwat) of Thailand. Neighboring provinces are (from north clockwise) Nong Khai, Sakon Nakhon, Kalasin, Khon Kaen, Nong Bua Lamphu and Loei.




Geography
Udon Thani is located in the heart of the Khorat Plateau between the provinces of Khon Kaen to its south, and Nong Khai to its north. The city of Udon Thani is served by the railway line that goes northeast from Saraburi through Nakhon Ratchasima (Khorat) and Khon Kaen to the border of Laos on the outskirts of Nong Khai city. Regular direct trains including night sleepers connect the city with Bangkok. The provincial capital, Udon, often referred to as just ("Ooh-dorn") is Thailand's fifth-largest MSA. In Roman script it is also often spelled Udorn.

symbols
The provincial seal shows a Hindu mythological giant (yakṣa in Thai yak), referring to Thao Kuwane (Vaiśravaṇa or Kubera), the god of the North.
The provincial tree is the Teng (Shorea obtusa), and the provincial flower is the Flame of the forest (Butea monosperma).
Administrative divisions

The province is subdivided into 18 districts (Amphoe) and 2 minor districts (King Amphoe). The districts are further subdivided into 155 communes (tambon) and 1682 villages (muban). The missing numbers 12-16 are Amphoe which formed the province Nongbua Lamphu in 1993.
Amphoe

King Amphoe
1. Mueang Udon Thani
2. Kut Chap
3. Nong Wua So
4. Kumphawapi
5. Non Sa-at
6. Nong Han
7. Thung Fon
8. Chai Wan
9. Si That
10. Wang Sam Mo
11. Ban Dung
17. Ban Phue
18. Nam Som
19. Phen
20. Sang Khom
21. Nong Saeng
22. Na Yung
23. Phibun Rak
24. Ku Kaeo
25. Prachaksinlapakhom